![]() |
ผลการศึกษาประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุโดยใช้เครื่องดนตรี Bamboo Bell |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิชญ์ บุญรอด, พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์, ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ |
Title | ผลการศึกษาประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุโดยใช้เครื่องดนตรี Bamboo Bell |
Publisher | คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Publication Year | 2561 |
Journal Title | วารสารวิเทศศึกษา |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 81-106 |
Keyword | Bamboo Bell, ดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ, กิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุในชุมชนหนองแวงตราชู 2 จำนวน 8 ราย ซึ่งเกณฑ์ในการคัดเลือกอาสาสมัคร คือ อาสาสมัครมีอายุตั้งแต่ 60 - 75 ปี สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สามารถใช้แขนได้อย่างน้อย 1 ข้าง และมีสภาพร่างกายที่ไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เครื่องดนตรี Bamboo Bell แผนจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ จำนวน 5 แผน และโน้ตบทเพลงสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยได้เรียบเรียงขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ประสบการณ์เชิงลึกใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อเครื่องดนตรี 2. ความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อกิจกรรมดนตรีและ 3. ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการได้เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีร่วมกับผู้อื่น และนำมาวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดของโคไลซ์ซี่จากการศึกษาผลของประสบการณ์ ความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อเครื่องดนตรี Bamboo Bell พบว่า เครื่องดนตรีมีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ทั้งขนาดรูปร่าง วัสดุที่ใช้ เสียง และสีสัน เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อน มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ ทำให้ผู้สูงอายุคลายเครียด และเกิดความเพลิดเพลิน สำหรับความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อกิจกรรมดนตรี ผู้สูงอายุพึงพอใจต่อกิจกรรมดนตรีที่จัดขึ้น เพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสมาธิ ร่างกาย และสังคม นอกจากนั้นบทเพลงที่ใช้ในกิจกรรม ยังเป็นบทเพลงที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องด้วยมีจังหวะและท่วงทำนองที่ไม่ซับซ้อน ในด้านความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการได้เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีร่วมกับผู้อื่น พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันกับผู้สูงอายุรายอื่น ๆ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชนมากขึ้น ทำให้เกิดการพบปะ พูดคุย มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี |