![]() |
ทักษะและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตจังหวัดสมุทรสาคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม |
Title | ทักษะและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตจังหวัดสมุทรสาคร |
Contributor | ศิริวัลย์ จันทร์แก้ว, สมชาย เลิศภิรมย์สุข, สุนา สุทธิเกียรติ, ศศิธร เปอร์เขียว, สุภาณี อินทน์จันทน์, อังคณา อินเสือ |
Publisher | Thonburi University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 107-121 |
Keyword | ทักษะทางวิชาชีพบัญชี, จรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, นักบัญชี |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal |
Website title | Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University |
ISSN | 2672-9202 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความความสัมพันธ์และอิทธิพลของทักษะทางวิชาชีพบัญชี และจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของนักบัญชีในเขตจังหวัดสมุทรสาคร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีที่เป็นผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนกับทางสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นแบบวิธีสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จำนวนตัวอย่างคำนวณตามสูตร ยามาเน่ ได้จำนวน 329 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 302 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ แบบ Enter และ Stepwise เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ทักษะทางวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล และทักษะของคนทำงานในศตวรรษที่ 21 มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของผู้ทำบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์ปรับปรุง (R Square) ใช้เปรียบเทียบตัวแบบที่มีจำนวนตัวแปรทำนายไม่เท่ากันมีค่า 0.891 คือสามารถอธิบายอิทธิพลเชิงบวกต่อความมีประสทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีได้ร้อยละ 89.1 และจรรยาบรรณทางวิชีพบัญชีด้านการมีความรู้ความสามารถ ความเอาใจใส่ และมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน การรักษาความลับ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์ มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของผู้ทำบัญชีอย่างมีนัยสำคัญในระดับ.05 โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์ปรับปรุง (R Square) ใช้เปรียบเทียบตัวแบบที่มีจำนวนตัวแปรทำนายไม่เท่ากันมีค่า 0.987 คือ สามารถอธิบายอิทธิพลเชิงบวกต่อความมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีได้ร้อยละ 98.7 |