![]() |
แนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม |
Title | แนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี |
Publisher | Thonburi University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 203-214 |
Keyword | ความฉลาดรู้การอ่าน, การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus, ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal |
Website title | Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University |
ISSN | 2672-9202 |
Abstract | บทความวิชาการเรื่องนี้มีเนื้อหาประกอบด้วย 1. ความฉลาดรู้การอ่าน หมายถึง ความสามารถเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน นำความรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ มาประกอบกันเพื่อตีความสิ่งที่อ่าน ตลอดจนประเมินคุณค่าของสิ่งที่อ่านแล้วประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการอ่านมาสร้างเป็นแนวคิดของตนได้ สังเคราะห์องค์ประกอบมี 3 ประการ ดังนี้ 1) การเข้าถึงและค้นคืนสาระ 2) การบูรณาการและการตีความ และ 3) การสะท้อนและประเมิน 2. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus เป็นแนวทางในการสอนอ่านควบคู่กับการส่งเสริมความคิดขณะที่อ่าน 3. ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี เป็นการนำข้อมูลเรื่องราวที่อยู่ในถิ่นฐานการดำเนินชีวิตของคนในจังหวัดปทุมธานีที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน ประกอบด้วยเนื้อหาตามคำขวัญของจังหวัดปทุมธานีที่ว่า ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม มาเป็นเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ศึกษา 4. แนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการพัฒนาทักษะการอ่านของผู้เรียน ประกอบเข้ากับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plusร่วมกับการนำข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีมาใช้ประกอบเป็นเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านโดยเริ่มจากข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวผู้เรียนและเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านในระดับที่ยากขึ้นต่อไป |