การวิเคราะห์ความคงทนของพื้นที่ธรรมชาติและศักยภาพทรัพยากรเพื่อจำแนกเขตการจัดการอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
รหัสดีโอไอ
Creator 1. พรพิมล คงเฉลิม
2. นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว
3. วันชัย อรุณประภารัตน์
Title การวิเคราะห์ความคงทนของพื้นที่ธรรมชาติและศักยภาพทรัพยากรเพื่อจำแนกเขตการจัดการอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
Contributor คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Publisher คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Publication Year 2562
Journal Title วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม
Journal Vol. 15
Journal No. 2
Page no. 26-45
Keyword ความคงทนของพื้นที่ธรรมชาติ, ศักยภาพทรัพยากรนันทนาการ, การจำแนกเขตการจัดการ, อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ISSN 19065485
Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคงทนต่อการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการของพื้นที่ธรรมชาติ ประเมินศักยภาพทรัพยากรนันทนาการ จำแนกเขตการจัดการและเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการในปัจจุบันกับเขตการจัดการที่จำแนกได้ของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมีความคงทนอยู่ในระดับต่ำ-ต่ำมาก คิดเป็นร้อยละ 49.01 ความคงทนปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 39.96 และความคงทนสูง-สูงมาก คิดเป็นร้อยละ 11.03 ของพื้นที่ทั้งหมด ผลการประเมินศักยภาพทรัพยากรนันทนาการในแหล่งนันทนาการ จำนวน 11 แหล่ง พบว่า มีศักยภาพสูง 9 แหล่ง และมีศักยภาพปานกลาง 2 แหล่ง โดยสามารถจำแนกเขตการจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ 5 เขตการจัดการ คือ เขตสงวนสภาพธรรมชาติ เขตการใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เขตฟื้นฟูสภาพธรรมชาติ เขตบริการ และเขตนันทนาการ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1,052.544 141.375 32.271 3.714 และ 2.045 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ และพบว่าการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเขตการจัดการที่จำแนกได้ แหล่งนันทนาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ในเขตสงวนสภาพธรรมชาติและเขตฟื้นฟูสภาพธรรมชาติ มีแหล่งนันทนาการเพียง 2 แหล่งที่อยู่ในเขตนันทนาการ
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ