![]() |
การออกแบบและพัฒนาระบบตู้จดหมายอัจฉริยะพลังงานทางเลือกบนฐานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สิทธิโชค อุ่นแก้ว |
Title | การออกแบบและพัฒนาระบบตู้จดหมายอัจฉริยะพลังงานทางเลือกบนฐานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง |
Contributor | นัสรี ม่องพร้า |
Publisher | Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 69-83 |
Keyword | ตู้จดหมายอัจฉริยะ, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, พลังงานทางเลือก, ระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ, เซลล์สุริยะ |
URL Website | https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIT |
Website title | วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2985-0274 (Print),ISSN 2985-0282 (Online) |
Abstract | ในปัจจุบันกระบวนการรับจดหมายหรือพัสดุที่มีความสำคัญยังคงพึ่งพาการตรวจสอบด้วยตนเองเป็นหลัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล่าช้าหรือการพลาดข้อมูลสำคัญได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาต้นแบบตู้จดหมายอัจฉริยะที่สามารถแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติ โดยใช้พลังงานทางเลือกร่วมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือไอโอที เพื่อเพิ่มความสะดวก ความปลอดภัย และความแม่นยำในการตรวจจับจดหมาย ระบบต้นแบบประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 4 ส่วน ได้แก่ (1) หน่วยจ่ายพลังงานที่ใช้แบตเตอรี่ประจุด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (2) หน่วยควบคุมกลางที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์อีเอสพี-32 (3) หน่วยตรวจจับที่สามารถตรวจจับการเปิดฝาตู้และการเคลื่อนไหว และ (4) หน่วยแจ้งเตือนที่ส่งภาพพร้อมข้อความแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์โดยอัตโนมัติ ระบบได้ถูกติดตั้งและทดสอบในสภาพแวดล้อมจริงภายใต้เงื่อนไขที่หลากหลาย ตัวชี้วัดสำคัญที่ใช้ในการประเมินผลประกอบด้วย ความแม่นยำในการตรวจจับ ระยะเวลาในการตอบสนองของการแจ้งเตือน และประสิทธิภาพในการใช้พลังงานทางเลือก ผลการทดลองพบว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ โดยสามารถแจ้งเตือนได้อย่างแม่นยำร้อยละ 100 และรักษาระดับพลังงานของแบตเตอรี่ให้เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวันโดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งจ่ายไฟภายนอก จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าตู้จดหมายอัจฉริยะที่นำเสนอมีศักยภาพสูงในการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง ช่วยลดภาระในการตรวจสอบจดหมายด้วยตนเอง เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน และสามารถบูรณาการเข้ากับระบบสมาร์ตโฮม ในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ |