![]() |
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการที่ส่งผลต่อ ผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | คณิต เรืองขจร |
Title | แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการที่ส่งผลต่อ ผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง |
Contributor | อนันต์ ธรรมชาลัย, พิศมัย จารุจิตติพันธ์, ภัสร์ชนกพรรณ อนุชาติไชย |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 128-140 |
Keyword | แนวทางการพัฒนา, สมรรถนะบุคลากรสายวิชาการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir |
ISSN | 3027-6446 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะบุคลากรที่มีผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้แนวคิด สมรรถนะและแนวคิดผลการดำเนินงาน เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลางจำนวน 14 แห่ง การวิจัยนี้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง จำนวน 400 ราย ด้วยการสุ่มอย่างง่าย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการโดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติตเชิงพรรณนา วิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะบุคลากรสายวิชาการ ทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายความสัมพันธ์และส่งผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง ได้ร้อยละ 51.5 โดยมีปัจจัยด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการทำงานเป็นทีม และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสามารถนำเสนอ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง จำนวน 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) กลุ่มแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร 2) แนวทางการยกระดับการการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนภารกิจของมหาวิทยาลัย 3) แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง |