![]() |
การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภริมา วินิธาสถิตย์กุล |
Title | การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 |
Contributor | ชนินันท์ แย้มขวัญยืน |
Publisher | สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 921-933 |
Keyword | การเรียนรู้เชิงรุก, กระบวนการการเรียนรู้เชิงรุก, การเรียนการสอนที่เป็นเลิศ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/issue/view/16979 |
ISSN | 2730-1672 (Online) |
Abstract | สถานการณ์โลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรปรับตัวในโลกอนาคต การเรียนรู้เชิงรุก “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดยให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ ความรู้มีทักษะ มีคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีการนำแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปพัฒนาการคิดเชิงระบบ และเป็นรูปธรรมในลักษณะของการเรียนแบบมีการปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนร่วมกันทั้งการเรียน การสร้างองค์ความรู้ การลงมือปฏิบัติด้วยจริง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนไปปรับโครงสร้างเพิ่มเวลาเรียนรู้จัดกิจกรรมการสอนทุกระดับทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน หรือทางออนไลน์ เพื่อเข้ากับบริบทของผู้เรียนอย่างเหมาะสม และสามารถพัฒนาให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในกำหนดช่วงเวลาของกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การสร้างสรรค์ และเข้าใจในเชิงลึกในสถานการณ์ต่าง ๆ จนผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน และสังคมส่วนรวมได้อย่างแท้จริงจึงกล่าวได้ว่าแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้เชิงรุกเป็นการออกแบบการจัดการเรียนการสอนของผู้สอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้จากการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอย่างแท้จริง ผ่านวิธีการหรือการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีการกำหนดอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายในสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องทำ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสะท้อนความรู้ ภายใต้ การคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การมีส่วนร่วม ผู้เรียนจะเกิดประสบการณ์ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น |