![]() |
การพัฒนาและเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์เบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อนุพงศ์ สุขประเสริฐ |
Title | การพัฒนาและเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์เบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล |
Contributor | อรนันท์ สำรวล, อุบลวรรณ วิเศษรัตน |
Publisher | สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 143-155 |
Keyword | เบี้ยประกันภัยรับรวม, การทำเหมืองข้อมูล, การบริหารความเสี่ยงในธุรกิจประกันภัย, การพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ, โครงข่ายประสาทเทียม |
URL Website | https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jcct |
Website title | วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ |
ISSN | ISSN 2985-1580 (Print);ISSN 2985-1599 (Online) |
Abstract | การพยากรณ์เบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทประกันชีวิตอย่างแม่นยำ มีความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการกำหนดนโยบายในอุตสาหกรรมประกันชีวิตของประเทศไทย งานวิจัยที่ผ่านมาโดยมากมักใช้แบบจำลองทางสถิติดั้งเดิมซึ่งมีข้อจำกัดในการจัดการกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบไม่เชิงเส้นอย่างซับซ้อน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์เบี้ยประกันภัยรับรวม โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล โดยใช้ชุดข้อมูลรายเดือนเป็นระยะเวลา 12 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมจำนวนทั้งสิ้น 144 รายการ และวิเคราะห์ข้อมูลตามกระบวนการมาตรฐานการทำเหมืองข้อมูล (CRISP-DM) ตัวแบบที่ใช้ในการเปรียบเทียบประกอบด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ เทคนิคต้นไม้ป่าสุ่ม เทคนิคซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน และเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมมีความแม่นยำสูงที่สุด โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) เท่ากับ 1,174,870.83 ค่ารากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) เท่ากับ 1,083.91 ค่าเปอร์เซ็นต์ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) เท่ากับ 2.53% และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R²) เท่ากับ 97.60% ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการพยากรณ์ที่เหนือกว่าเทคนิคอื่น ๆ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการพยากรณ์เบี้ยประกันภัยรับรวม เพื่อสนับสนุนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และเพิ่มความแม่นยำของระบบการคำนวณเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย |