![]() |
การพัฒนาสื่อการเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ญาดา เหลือสิงห์กุล |
Title | การพัฒนาสื่อการเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย |
Contributor | ณัฐชานันท์ ทัศพงษ์, ณัฏฐณิชา นรสาร, ลัดดา สวนมะลิ, กนิษฐา ศรีเอนก |
Publisher | สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 115-130 |
Keyword | สื่อการเรียนรู้, ระบบสุริยะจักรวาล, ทักษะการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์, การพัฒนาแอปพลิเคชัน |
URL Website | https://so13.tci-thaijo.org/index.php/jcct |
Website title | วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ |
ISSN | ISSN 2985-1580 (Print);ISSN 2985-1599 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสื่อการเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในการพัฒนาแอปพลิเคชันใช้โปรแกรม Godot Engine โปรแกรมออกแบบกราฟิก โปรแกรมตัดต่อเสียง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4–ป.6) จำนวน 40 คน ซึ่งได้จากการเลือกใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า สื่อการเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานในหลายด้าน ได้แก่ การทำงานได้ตามฟังก์ชัน ระดับมาก (Mean = 4.03, SD = 0.93) การตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ระดับมาก (Mean = 4.11, SD = 0.87) ความง่ายต่อการใช้งาน ระดับมาก (Mean = 3.99, SD = 0.95) และความพึงพอใจโดยรวม ระดับมาก (Mean = 4.14, SD = 0.87) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสื่อนี้มีศักยภาพในการเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ |