ความพึงพอใจของนักศึกษาภาคพิเศษต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator กนกอร สิงจานุสงค์
Title ความพึงพอใจของนักศึกษาภาคพิเศษต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Publisher Department of Strategics for Improving Education Quality, Surindra Rajabhat University
Publication Year 2568
Journal Title วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
Journal Vol. 3
Journal No. 1
Page no. 33-54
Keyword ความพึงพอใจ, นักศึกษาภาคพิเศษ, การใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
URL Website https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru
Website title วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
ISSN ISSN 2822-0870 (Print), ISSN 2822-0889 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาภาคพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาภาคพิเศษ จำแนกตาม เพศ ชั้นปี และคณะ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาภาคพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 229 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (x ?) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การทดสอบ t (Independent t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-30 ปี ชั้นปีที่ 3 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีอาชีพค้าขาย/ประกอบกิจการส่วนตัว มีความถี่ในการใช้บริการต่อเดือน 1-2 ครั้ง มีวันที่ใช้บริการส่วนใหญ่คือวันเสาร์ วัตถุประสงค์ของการใช้คือค้นคว้าหาข้อมูล ระยะเวลาในการใช้บริการแต่ละครั้ง 1-2 ชั่วโมง บุคคลที่มาใช้บริการร่วมคือเพื่อน ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาภาคพิเศษต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในภาพรวม มีระดับความพึงพอใจมาก การทดสอบสมมติฐาน นักศึกษาที่มีเพศและชั้นปีแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีคณะแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ที่พบมากที่สุดคือ คอมพิวเตอร์มีไว้ให้บริการไม่เพียงพอ จึงควรมีการเพิ่มเติมจำนวนคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการ
ฝ่ายยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ