ระเบียบวิธีวิจัยการออกแบบ: การแสวงหาความรู้ด้วยการวิจัยการออกแบบสรรค์สร้าง
รหัสดีโอไอ
Creator ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า
Title ระเบียบวิธีวิจัยการออกแบบ: การแสวงหาความรู้ด้วยการวิจัยการออกแบบสรรค์สร้าง
Contributor พีรดร แก้วลาย
Publisher Thammasat University
Publication Year 2563
Journal Title Journal of Architectural/Planning Research and Studies
Journal Vol. 17
Journal No. 1
Page no. 91-102
Keyword การวิจัยการออกแบบ, การวิจัยการออกแบบสรรค์สร้าง, การวิจัยในบริบทการออกแบบ, การวิจัยที่เป็นการออกแบบ, การวิจัยออกแบบบนฐานการปฏิบัติ, การวิจัยเพื่อการออกแบบ, การวิจัยผ่านการออกแบบ, การวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/jars/index
Website title ThaiJO
ISSN 1905-2022
Abstract การออกแบบเป็นศาสตร์ที่มีความเฉพาะและมีวิธีการเข้าถึงความรู้ที่แตกต่างจากสาขาวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีเป้าหมายและมีระเบียบวิธีของตัวเอง ผลงานออกแบบจึงเป็นความรู้รูปแบบหนึ่งทั้งในด้านการรับรู้ พฤติกรรม และการใช้งาน ในทางวิชาการผลงานออกแบบมีความเป็นงานวิจัยในหลายมิติ เช่น เป็นความรู้ใหม่ที่ทําาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาของมนุษย์ สร้างการรับรู้ใหม่ และการเผยแพร่ผลงานผ่านการจัดนิทรรศการถือเป็นการสื่อสารความรู้จากการออกแบบ การวิจัยออกแบบเป็นกลไกการส่งต่อความรู้ในลักษณะกลับไปกลับมาระหว่างความรู้พื้นฐานกับสังคม โดยเฉพาะการวิจัยผ่านกระบวนการออกแบบที่เรียกว่า การวิจัยการออกแบบสรรค์สร้าง เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่มีความเฉพาะและสอดคล้องกับวิถีการทําางานการออกแบบ ซึ่งมีแนวทางในการวิจัยดังนี้ 1) การปฏิบัติวิชาชีพออกแบบแบบดั้งเดิมเป็นระเบียบวิธีและเครื่องมือการวิจัย เช่น การนําาเครื่องมือออกแบบที่มีอยู่มาใช้ เช่น การสร้างต้นแบบของประสบการณ์และเครื่องมือที่สร้างการมีส่วนร่วม 2) การหันเข้าหาเทคโนโลยีและการใช้วัฒนธรรมสนามทดลองเพื่อการคัดเลือกเทคโนโลยีมาใช้ให้บรรลุเป้าหมายของการวิจัยออกแบบผ่านการทดลองที่ไม่ได้เน้นการให้เหตุผลและทฤษฎีที่ซับซ้อน 3) การกําาหนดให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางของการวิจัยออกแบบ ให้ความสําาคัญกับอารมณ์ ความเข้าอกเข้าใจผู้ใช้งานซึ่งเป็นที่แพร่หลายในบริษัทออกแบบชั้นนำ
วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ