![]() |
การศึกษาประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ไก่พื้นเมืองภาคใต้ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณปภัช ช่วยชูหนู |
Title | การศึกษาประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ไก่พื้นเมืองภาคใต้ |
Contributor | ประพจน์ มลิวัลย์, เอื้อมพร เอกขระ, สมคิด ชัยเพชร |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 94-106 |
Keyword | ไก่แดง, ไก่เบตง, ไก่คอล่อน, น้ำเชื้อ, การผลิตไข่, อัตราการผสมติด |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณ คุณภาพน้ำเชื้อ และอัตราการผสมติดด้วยการผสมเทียม ภายใต้การเลี้ยงในโรงเรือนของไก่แดง เบตง และคอล่อน ซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองของภาคใต้ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) โดยใช้พ่อพันธุ์ไก่แดง ไก่เบตง และ ไก่คอล่อน อายุ 8 เดือน สายพันธุ์ละ 6 ตัว รวม 18 ตัว และแม่ไก่พันธุ์ไก่แดง เบตง และคอล่อน อายุ 5 เดือน สายพันธุ์ละ 30 ตัว รวม 90 ตัว สัตว์ทดลองผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ ดังนี้ ไก่แดง จากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี ไก่คอล่อน จากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช และไก่เบตง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทำการรีดน้ำเชื้อ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินคุณภาพน้ำเชื้อ ประกอบด้วย ปริมาณ ความเข้มข้น อัตราอสุจิรอดชีวิต อสุจิรูปร่างปกติ อัตราการไข่ ขนาดฟองไข่ และการทดสอบอัตราการผสมติดโดยการผสมเทียม ใช้น้ำยาเจือจางน้ำเชื้อสูตร IGGKPh ผสมเทียม 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำเชื้อและคุณภาพน้ำเชื้อเฉลี่ยของไก่แดง ไก่เบตง และไก่คอล่อน เฉลี่ยในรอบ 1 ปี ไก่เบตงมีปริมาณน้ำเชื้อเฉลี่ย 0.40±0.13 มล. สูงกว่า (P<0.01) ไก่แดงและไก่คอล่อน ซึ่งมีปริมาณ 0.36±0.12 และ 0.34±0.14 มล. ตามลำดับ แต่ไก่คอล่อนมีความเข้มข้นของอสุจิเฉลี่ย (4,002.70±194.80)x106 เซลล์/มล. สูงกว่า (P<0.05) ไก่แดง และไก่เบตง ซึ่งมีความเข้มข้น (3,875.50±262.80)x106 และ (3,732.20±187.70)x106 เซลล์/มล. ตามลำดับ แต่ไก่เบตงมีจำนวนอสุจิเฉลี่ยต่อการรีด (1,489.20±132.12)x106 เซลล์ สูงกว่า (P<0.05) ไก่คอล่อนและไก่แดง (1,378.30±172.61)x106 และ (1,372.69±137.51)x106 เซลล์ เปอร์เซ็นต์อสุจิรอดชีวิต อสุจิรูปร่างปกติ และการเคลื่อนที่ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) การให้ผลผลิตไข่ของแม่ไก่ในรอบ 1 ปี แม่ไก่คอล่อนมีน้ำหนักฟองไข่เฉลี่ย 46.35±9.05 กรัม/ฟอง สูงกว่า (P<0.01) ไก่แดงและไก่เบตง ซึ่งมีน้ำหนัก 41.52±8.13 และ 45.06±9.33 กรัม/ฟอง ตามลำดับ แม่ไก่เบตงและแม่ไก่คอล่อนมีน้ำหนักตัวในการวางไข่ฟองแรก 1,650.25±190.75 และ 1,680.36±125.53 กรัม/ตัว ตามลำดับ สูงกว่า (P<0.05) แม่ไก่แดง 1,580.50±110.15 กรัม/ตัว อัตราการผสมติดจากการผสมเทียมและประสิทธิภาพการฟักออกของไก่ทั้งสามสายพันธุ์ ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) จากข้อมูลปริมาณและคุณภาพน้ำเชื้อ อัตราการไข่ และอัตราการผสมติด ของไก่พื้นเมืองภาคใต้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเพาะขยายพันธุ์ การวางแผนการผสมพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ และการเก็บรักษาเก็บน้ำเชื้อแบบแช่แข็งเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม |