![]() |
การศึกษาการใช้สารเคมีเพื่อยับยังจุลินทรีย์ปนเปื้อนและผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่ออ้อยในระบบเปิด |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อารักษ์ ธีรอำพน |
Title | การศึกษาการใช้สารเคมีเพื่อยับยังจุลินทรีย์ปนเปื้อนและผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่ออ้อยในระบบเปิด |
Contributor | จิราพร พรมขุนทด, นัฎฐา นิตย์วัฒนกุล, กาญจนา กิระศักดิ์, ภาคภูมิ ถิ่นคำ, โสภณ วงศ์แก้ว |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 58-68 |
Keyword | อ้อย, สารควบคุมจุลินทรีย์, การเพาะเลี้ยง, เนื้อเยื่อต้นทุนต่ำ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, แบบระบบเปิด |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและความเข้มข้นของสารฆ่าเชื้อต่อการยับยังเชื้อจุลินทรีย์ ในสภาพห้องปฏิบัติการ และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่ออ้อย โดยในขั้นตอนแรกทำการคัดกรองหาเชื้อจุลินทรีย์ที่พบปนเปื้อนในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS ในสภาพห้องปฏิบัติการระบบเปิด (เดือนพฤศจิกายน 2563) พบเชื้อรา 8 ไอโซเลท ได้แก่ Aspergillus sp., Trichoderma sp., Fusarium sp., Gliocladium sp., Curvularia sp., ยีสต์และอีก 2 ไอโซเลทไม่ทราบชื่อ เนื่องจากไม่สร้างหน่วยขยายพันธุ์ และเชื้อแบคทีเรีย 5 ไอโซเลท ได้แก่ แบคทีเรียแกรมบวก 1 ไอโซเลท แบคทีเรียแกรมลบ 4 ไอโซเลท จากนั้นทดลองหาชนิดของสารฆ่าเชื้อที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อควบคุมจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่คัดกรองได้จากการปนเปื้อน ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS พบว่า Sodium hypochlorite ความเข้มข้น 0.17, 0.25 และ 0.33 มิลลิลิตร/ลิตร สามารถควบคุมการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี ในการทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออ้อยในอาหารสูตร MS ที่ไม่ได้นึ่งฆ่าเชื้อ เติมไคเนติน 1 มิลลิกรัม/ลิตร กรดซิตริก 150 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับสารเคมี Sodium hypochlorite ความเข้มข้น 0.20, 0.25 และ 0.33 มิลลิลิตร/ลิตร พบการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเนื้อเยื่ออ้อยที่ดี และไม่แตกต่างจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบดั้งเดิม |