การเปรียบเทียบรูปแบบการกวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา
รหัสดีโอไอ
Creator นงนุช เลาหะวิสุทธิ์
Title การเปรียบเทียบรูปแบบการกวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา
Contributor กัญญารัตน์ พูลทะจิตร์, สมเกียรติ สีสนอง, อัจฉรี เรืองเดช
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 82-93
Keyword สาหร่ายคลอเรลลา, การเจริญเติบโต, ปั๊มใต้น้ำ, การกวน
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การเปรียบเทียบรูปแบบการกวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 5 ซ้ำ ได้แก่ ชุดการทดลองที่ 1 การกวนด้วยระบบเติมอากาศจากหัวทราย (ชุดควบคุม) ชุดการทดลองที่ 2 และ 3 การกวนด้วยระบบหมุนเวียนน้ำในแนวราบและแนวตั้ง ตามลำดับ และชุดการทดลองที่ 4 การกวนด้วยระบบหมุนเวียนน้ำ ในแนวราบร่วมกับแนวตั้ง โดยนำสาหร่ายคลอเรลลาที่มีจำนวนเซลล์เริ่มต้น 9.8×104 เซลล์/มล. มาเลี้ยงในสูตรอาหารสาหร่ายคลอเรลลาที่ดัดแปลงจากกรมประมง เลี้ยงพื้นที่กลางแจ้ง ระยะเวลา 10 วัน โดยเก็บขอมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ จำนวนเซลล์ น้ำหนักแห้ง ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณฟีโอไฟติน และค่าความเป็น กรด-ด่าง ผลการศึกษาพบว่า ทุกชุดการทดลองมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 8 มีค่าเท่ากับ 789.64×104, 721.63×104, 1,116.28×104 และ 1,580.08×104 เซลล์/มล. ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) น้ำหนักแห้งมีค่าเท่ากับ 123.60, 177.60, 164.00 และ 202.80 ไมโครกรัม/มล. ตามลำดับ (P<0.05) ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ มีค่าเท่ากับ 3,859.81, 4,756.69, 4,068.30 และ 5,741.60 ไมโครกรัม/ลิตร ตามลำดับ (P<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองปริมาณ ฟีโอไฟตินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และค่าความเป็นกรด-ด่าง มีความด่างเล็กน้อยทำให้สาหร่ายคลอเรลลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี สรุปได้ว่าการกวนด้วยระบบหมุนเวียนน้ำในแนวราบร่วมกับแนวตั้งเป็นรูปแบบการกวนที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสาหร่ายคลอเรลลา ส่งผลให้มีจำนวนเซลล์ น้ำหนักแห้ง ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และปริมาณฟีโอไฟตินดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองอื่น ๆ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ