![]() |
การคัดเลือกและเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิววัสดุตัวกลางด้วยพลาสมาระดับความดันบรรยากาศเพื่อปรับปรุงการจุ่มชุ่มน้ำมันหอมระเหยสำหรับควบคุมไรศัตรูผึ้ง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วีรนันท์ ไชยมณี |
Title | การคัดเลือกและเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิววัสดุตัวกลางด้วยพลาสมาระดับความดันบรรยากาศเพื่อปรับปรุงการจุ่มชุ่มน้ำมันหอมระเหยสำหรับควบคุมไรศัตรูผึ้ง |
Contributor | เลิศลักขณา วงศ์ทวีทอง, ธรรมนูญ บุญมี, กมลพร ปานง่อม |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 170-181 |
Keyword | Tropilaelaps, เทคโนโลยีพลาสมาเย็น, น้ำมันหอมระเหยกานพลู, การดูดซับ, การระเหย |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | ไร Tropilaelaps เป็นศัตรูผึ้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งของไทยและเอเชีย โดยงานวิจัยนี้ได้คัดเลือกวัสดุรูพรุนเพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุตัวกลางสำหรับการดูดซับและปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหย พบว่าแท่งเซรามิคสีน้ำตาลมีการดูดซับน้ำมันหอมระเหยกานพลูได้สูงสุด เท่ากับ 0.00500.0002 µl/mg รองลงมาคือ คาร์บอน (0.00360.0002 µl/mg) ส่วนการดูดซับน้ำมันหอมระเหยอบเชย พบว่าแท่งคาร์บอนและแท่งเซรามิคสีน้ำตาลมีการดูดซับได้สูงสุด (0.00670.0002 และ 0.00650.0002 µl/mg ตามลำดับ) การดูดซับน้ำมันหอมระเหยกานพลูของคาร์บอนที่ผ่านการปฏิบัติพลาสมาโดยใช้แก๊สอาร์กอนและฮีเลียมพลาสมาเพียงอย่างเดียว มีแนวโน้มลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการดูดซับเท่ากับ 0.00360.0002 และ 0.00350.0001 µl/mg ตามลำดับ อย่างไรก็ตามอาร์กอนและฮีเลียมพลาสมาที่มีระบบไอน้ำร่วมด้วยไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการดูดซับน้ำมันหอมระเหยกานพลูของแท่งคาร์บอน น้ำมันกานพลู มีปริมาณการระเหยต่ำจากแท่งคาร์บอนในช่วง 8 ชั่วโมงแรก จากนั้นมีปริมาณการระเหยเพิ่มขึ้นเป็น 40-50% ในวันที่ 3 ของการทดสอบ และ 50-60% ในวันที่ 14 ของการทดสอบ อีกทั้งการระเหยของน้ำมันกานพลูจากแท่งคาร์บอนไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหลังการผ่านพลาสมา ดังนั้นควรที่จะทำการศึกษาหาสภาวะต่าง ๆ ของเทคโนโลยีพลาสมาเพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิววัสดุตัวกลางสำหรับการนำน้ำมันหอมระเหยและวัสดุตัวกลางไปประยุกต์ใช้ควบคุมไรผึ้งต่อไป |