สัดส่วนอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแมลงทหารเสือ (Hermetia illucens)เพื่อใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม
รหัสดีโอไอ
Creator ยุทธนา พิมลศิริผล
Title สัดส่วนอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแมลงทหารเสือ (Hermetia illucens)เพื่อใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม
Contributor พินพนิต บุญช่วย, จิราพร กุลสาริน, ชลธิชา อุทัยศรีผดุงกุล, ปิยะฉัตร สาหัสชาติ, กมลพร สิทธิไตรย์, สุวิทย์ โชตินันท์, ฐิติณิชา ไชยชนะ, กนกวรรณ ไกลถิ่น
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2568
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 42
Journal No. 1
Page no. 143-162
Keyword แมลงทหารเสือ, Hermetia illucens, สูตรอาหาร, น้ำมัน, เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract ตัวอ่อนของแมลงทหารเสือ (Hermetia illucens, Black Soldier Fly Larvae, BSFL) เป็นวัตถุดิบมีความน่าสนใจเป็นพิเศษในอุตสาหกรรมหลายประเภท เนื่องจากสามารถผลิตลิพิดซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีกายภาพที่พึงประสงค์ และแสดงศักยภาพในการเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ นอกจากนี้ชีวมวลที่เหลือจากกระบวนการสกัดน้ำมันยังสามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกคุณภาพสูง ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม อย่างยิ่งสำหรับการประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนและสูตรของอาหารที่เหมาะสม ที่มีต่ออัตราการเจริญเติบโต ผลผลิตน้ำมัน และลักษณะของน้ำมัน เพื่อการประยุกต์ใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม จากผลการศึกษาพบว่า ข้าวโพดบดละเอียด รำละเอียด และกากถั่วเหลือง เป็นส่วนผสมที่เหมาะสมสำหรับใช้ในอาหาร โดยกากถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบที่มีปริมาณโปรตีนและไขมันสูงที่สุดเท่ากับ 26.50 และ 10.63 กรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ อีกทั้งยังพบว่ากากถั่วเหลืองมีชนิดของกรดอะมิโนที่หลากหลาย และจากการศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมของอาหารที่ใช้เลี้ยงพบว่า สัดส่วนของข้าวโพดบดละเอียด รำละเอียด และกาก ถั่วเหลือง เท่ากับ 1:1:3 โดยน้ำหนัก ให้ปริมาณน้ำมัน 82.61 กรัมต่อ 100 กรัม โดยมีองค์ประกอบหลักเป็นกรดลอริก 34.88 กรัมต่อ 100 กรัม น้ำมันที่สกัดจาก BSFL มีปริมาณโอเมก้า 3, 6 และ 9 เท่ากับ 1,100, 17,197 และ 17,480 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มีค่าเพอร์ออกไซด์เท่ากับ 3.65 m Eq/kg และค่าซาพอนนิฟิเคชันเท่ากับ 233.44 mg KOH/g ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้สูตรอาหารจากการศึกษานี้เป็นข้อมูลในการเพาะเลี้ยง BSFL เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มได้
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ