![]() |
การใช้หนอนแมลงวันลายอบแห้งเป็นอาหารปลาบึกอินทรีย์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุดาพร ตงศิริ |
Title | การใช้หนอนแมลงวันลายอบแห้งเป็นอาหารปลาบึกอินทรีย์ |
Contributor | จงกล พรมยะ, นิสรา กิจเจริญ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 132-142 |
Keyword | ปลาบึก, หนอนแมลงวันลาย, อาหารอินทรีย์, การเจริญเติบโต |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | การพัฒนาสูตรอาหารสัตว์น้ำอินทรีย์ เป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโต หนอนแมลงวันลายอบแห้งอินทรีย์ (Black Soldier Fly: BSF) เป็นทางเลือกหนึ่งที่นำใช้ทดแทนโปรตีนจากปลาป่น เนื่องจากมีโปรตีน การเจริญเติบโตของปลาบึกอินทรีย์ ที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมหนอนแมลงวันลายอบแห้งอินทรีย์ ระดับ 0 (control), 30 (BSF1), 40 (BSF2) และ 50 (BSF3) เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณโปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ ใช้ปลาบึกขนาดเฉลี่ย 50±0.12 กรัม เลี้ยงในกระชังพลาสติก ขนาด 1x1x1 เมตร ความหนาแน่น 20 ตัวต่อตารางเมตร ให้อาหาร 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว เลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน ผลการทดลองพบว่า คุณค่าทางโภชนาการของหนอนแมลงวันลายอบแห้ง มีปริมาณโปรตีน 47.82±2.01 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณความชื้น เถ้า ไขมัน ไฟเบอร์ และคาร์โบไฮเดรต 5.51±0.23, 12.14±0.22, 7.31±0.62, 7.97±0.70 และ 19.22±0.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการเจริญเติบโตของปลาบึก พบว่าปลาบึกที่ได้รับอาหารผสมหนอนแมลงวันลาย 40 เปอร์เซ็นต์ (BSF2) มีน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด คือ 108.13±6.052 กรัม และมีอัตราแลกเนื้อต่ำที่สุด คือ 2.38±0.04 โดยการทดลองทุกชุดมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และอัตรารอดของทุกชุดทดลองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุปได้ว่าหนอนแมลงวันลายอบแห้งสามารถใช้ในสูตรอาหารเลี้ยงปลาบึกได้ และสัดส่วนที่เหมาะสม ในการใช้ในสูตรอาหาร คือ ที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์. |