การเลี้ยงปูนาพันธุ์ Esanthelphusa dugasti ที่เสริมด้วยเปลือกไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย
รหัสดีโอไอ
Creator วิจิตรตา อรรถสาร
Title การเลี้ยงปูนาพันธุ์ Esanthelphusa dugasti ที่เสริมด้วยเปลือกไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย
Contributor อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ, จิราวรรณ คำธร, อนวัทย์ ผาลี
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 65-73
Keyword ปูนา, เปลือกไข่, การเจริญเติบโต, อัตราการรอดตาย
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การศึกษาการเลี้ยงปูนา Esanthelphusa dugasti ที่เสริมด้วยผงเปลือกไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารที่ไม่มีการเสริมเปลือกไข่ (ชุดควบคุม) และชุดการทดลองที่ 2–5 อาหารเสริมด้วยเปลือกไข่ 3, 5, 7 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยใช้ลูกปูนาอายุ 7 วัน หลังจากที่หลุดจากท้องแม่ มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 0.006 กรัม ความกว้างกระดองเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 0.218?0.008 ซม. และความยาวกระดองเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 0.178?0.011 ซม.ระยะเวลาการเลี้ยง 90 วัน พบว่าปูนาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมเปลือกไข่ มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตดีกว่า ชุดควบคุมที่ไม่มีการเสริมเปลือกไข่ในอาหาร โดยปูนาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมเปลือกไข่ที่ปริมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ในด้านน้ำหนัก เพิ่มเฉลี่ย (WG) น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน (ADG) ความกว้างกระดองเพิ่มเฉลี่ย (CWG) และความยาวกระดองเพิ่ม เฉลี่ย (CLG) เท่ากับ 3.535?0.513 กรัม 0.039?0.006 กรัมต่อวัน 1.996?0.120 ซม. และ 1.640?0.092 ซม. ตามลำดับ รวมถึงอัตราการรอดตาย เท่ากับ 93.333?2.887 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอาหารเสริมด้วยเปลือกไข่ที่ปริมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปูนา และสามารถต่อยอดเพื่อการเพิ่มผลผลิตระบบการเลี้ยงปูนา
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ