![]() |
การคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์เห็ดถังเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) จากดอกเห็ดถังเช่าทิเบตแห้งที่มาจากประเทศจีน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุวรรณโฉม ชาตินรินทร์ |
Title | การคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์เห็ดถังเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) จากดอกเห็ดถังเช่าทิเบตแห้งที่มาจากประเทศจีน |
Contributor | วิจิตรา แดงปรก, ภาวิณี อารีศรีสม, มงคล ถิรบุญยานนท์ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 93-102 |
Keyword | การคัดแยกสายพันธุ์, การระบุสายพันธุ์, ลักษณะสัณฐานวิทยา, เห็ดถังเช่า |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | เห็ดถังเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) เป็นเห็ดทางการแพทย์ที่มีการใช้ในยาแผนโบราณของจีนมายาวนาน ด้วยองค์ประกอบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลัก คือ โพลิแซ็คคาไรด์ คอร์ไดเซปิน และอะดีโนซีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกายและมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ที่โดดเด่น กล่าวคือ สามารถต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ และลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งดอกเห็ดดังกล่าวเป็นที่ต้องการและมีมูลค่าทางการตลาดสูง ทำให้เกิดวิกฤตวัตถุดิบจากธรรมชาติไม่เพียงพอ การเพาะเลี้ยงเส้นใยเพื่อทดแทนดอกเห็ดจึงถูกนำมาใช้ตอบสนองความต้องการของตลาดการศึกษาครั้งนี้เพื่อให้ได้สายพันธุ์ราเห็ดถังเช่าทิเบตบริสุทธิ์ที่ถูกต้อง โดยใช้การวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรา การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ และการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการ จากการรวบรวมดอกเห็ด ถังเช่าทิเบตแห้งในธรรมชาติหลากหลายแหล่งที่มาจากประเทศจีน โดยใช้ทั้งส่วนของราที่งอกออกจากหัวหนอน (Stroma) และส่วนที่เป็นตัวหนอน (Sclerotium) ผลการวิจัยดังกล่าวพบว่ามีเพียง 1 ไอโซเลท ที่มีลักษณะโคโลนีและรูปร่างสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกับราเห็ดถั่งเช่าทิเบต และทำการยืนยันด้วยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลโดยเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของไรโบโซมนิวเคลียสด้วยไพรเมอร์ ITS4 (5′-TCCTCCGCT TATTTGATATGC-3′) และ ITS5 (5′-GGAAGT AAAAGTCGTAACAAGG-3′) พบว่าราดังกล่าว คือ Ophiocordyceps sinensis เมื่อทำการเทียบสายวิวัฒนาการ (Phylogenetic tree) พบว่า O. sinensis ดังกล่าวอยู่ในวงศ์ Ophiocordycipitaceaeการเลี้ยงราสายพันธุ์บริสุทธิ์ดังกล่าว สามารถเลี้ยงในอาหารวุ้นสูตร เพปโตน 10 กรัม เด็กซ์โทรส 40 กรัม ยีสต์สกัด 20 กรัม ผงวุ้น 15 กรัม และน้ำกลั่น 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส ในที่มืด เป็นเวลา 14 วัน โดยมีลักษณะโคโลนีที่ตรงกลางมีสีขาวถึงสีครีมอ่อนและรูปร่างกลม มีลักษณะของเส้นใยที่มีสีขาวขนนกซ้อนกันอย่างหนาแน่น เส้นใยแตกเป็นข้อแขนง มีเส้นใยอากาศปุยฟู และมีสปอร์รูปแท่งยาว 5-10 ไมโครเมตร ดังนั้นสายพันธุ์ราบริสุทธิ์ที่ได้จะสามารถใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับการตรวจหาสารออกทธิ์ทางชีวภาพและทดสอบการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่อไป |