![]() |
ถ่านชีวภาพดัดแปลงเสริมด้วยจุลินทรีย์บำรุงจากฟางข้าวสำหรับการส่งเสริมการเจริญ ของพืชและปรับปรุงดิน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มุจลินทร์ ผลจันทร์ |
Title | ถ่านชีวภาพดัดแปลงเสริมด้วยจุลินทรีย์บำรุงจากฟางข้าวสำหรับการส่งเสริมการเจริญ ของพืชและปรับปรุงดิน |
Contributor | ทิพปภา พิสิษฐ์กุล, ปิยะนุช เนียมทรัพย์, ศรีกาญจนา คล้ายเรือง, นงคราญ พงค์ตระกุล, สุรศักดิ์ กุยมาลี, จักรพงษ์ ไชยวงศ์ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 48-66 |
Keyword | ถ่านชีวภาพดัดแปลง, นาข้าว, ฟางข้าว, การปรับปรุงคุณภาพดิน, ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกำจัดซากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรด้วยการเผาและคุณภาพดิน ที่เสื่อมโทรม การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในภาคการเกษตรกลายเป็นที่นิยมมากเนื่องจากความสามารถในการเก็บกักและปลดปล่อยธาตุอาหารรวมถึงการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งการใช้งานจริงในพื้นที่กลับพบข้อจำกัดและผลลัพธ์ที่แตกต่างกันรวมถึงความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบของถ่านให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของถ่านชีวภาพดัดแปลงเสริมด้วยจุลินทรีย์บำรุงจากเศษวัสดุเหลือทิ้งจากนาข้าวเพื่อใช้ปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ในการศึกษาจะทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานถ่านชีวภาพในระดับโรงเรือนสำหรับการปลูกข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ กข 105 โดยจะทำการศึกษาหาสัดส่วนการใส่ถ่านชีวภาพ ที่เหมาะสมที่ความเข้มข้นของถ่านชีวภาพที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 1, 2 และ 3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ซึ่งจะเก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังการปลูกเพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ และเก็บตัวอย่างพืชเพื่อวัดความสูงของต้น ความยาวของราก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง จำนวนใบ จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงและเมล็ด และปริมาณคลอโรฟิลล์ และทดสอบการตอบสนองในระดับการแสดงออกของยีนพืชที่ได้รับถ่านชีวภาพดัดแปลง ผลการศึกษาพบว่าการเติมถ่านชีวภาพดัดแปลงที่ 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ช่วยส่งเสริมให้ข้าวเจริญเติบโตดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ถ่านชีวภาพดัดแปลงสามารถปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้นโดยมีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่สกัด ได้ในดินหลังการปลูกมีค่าสูงขึ้น จากการประเมินการแสดงออกของยีนพบว่าถ่านชีวภาพดัดแปลงสามารถเหนี่ยวนำการแสดงออกของยีน ISR ที่ช่วยเสริมฤทธิ์ ในการกระตุ้น ISR และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช |