![]() |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกกัญชงพันธุ์ CBD type และ Superfood type |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วชิระ เกตุเพชร |
Title | การศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกกัญชงพันธุ์ CBD type และ Superfood type |
Contributor | พุทธพงศ์ มะโนคำ, นันทภรณ์ เตจะสร้อย, พีรวุฒิ วงศ์สวัสดิ์, ประภัสสร ทิพย์รัตน์, สิริสุภาพร คำสุกดี, ชนากาณ ศรีเมือง, ศศิเทพ ชัยชม |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 1-20 |
Keyword | Cannabis sativa L., กัญชงพันธุ์ CBD, กัญชงพันธุ์ superfood, เทคโนโลยีการปลูก |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | การศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปลูก กัญชง (Cannabis sativa L.) พันธุ์ CBD type และพันธุ์ Superfood type ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 1) การศึกษาเทคโนโลยีการปลูกและการเก็บเกี่ยวกัญชง พันธุ์ CBD type โดยศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และผลของสูตรปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต โดยปลูกกัญชง 3 พันธุ์ ได้แก่ CD1 1:20 และ CD2 purple ร่วมกับวิธีการจัดทรงพุ่ม 3 แบบ ได้แก่ ไม่จัดทรงพุ่ม (ทรงต้นคริสต์มาส) Screen of Green (ScrOG) และ Low Stress Training (LST) และการให้ปุ๋ยแตกต่างกัน 3 สูตร ที่ระยะหลังปลูก 60 วัน ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ และ 4-12-15 อัตรา 25 กก./ไร่ ผลการทดลองปรากฏว่าพันธุ์ CD2 purple ที่ไม่จัดทรงพุ่ม (ทรงต้นคริสต์มาส) และให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หลังปลูก 60 วัน มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ ต้นมีความสูงมากที่สุด 382.0 ซม. น้ำหนักต้นมากที่สุด 12,500 กรัม มีจำนวนช่อ/ต้นมากที่สุด 35.3 ช่อ และความยาวช่อมากที่สุด 57.7 ช่อ และมีน้ำหนักช่อรวมมากที่สุด 8,066.7 กรัม และการศึกษาผลของพันธุ์และระยะเก็บเกี่ยวช่อดอกสุกแก่ ที่ 50, 75 และ 100% ต่อปริมาณสาระสำคัญในกัญชง พันธุ์ CBD type จำนวน 3 พันธุ์ ผลปรากฏว่าพันธุ์ CD1 เก็บเกี่ยวที่ระยะช่อดอกแก่ 50% มีปริมาณสาร CBD มากที่สุด 10.63%w/w ของน้ำหนักแห้ง และ 62.00% ของสารสกัดหยาบ และ 2) การศึกษาเทคโนโลยีการปลูกและเก็บเกี่ยวกัญชงพันธุ์ Superfood type โดยศึกษาผลของพันธุ์ที่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของกัญชง จำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ RPF1, RPF2, RPF3, RPF4, RPF5, RPF6, RPF7 และ RPF8 ผลปรากฏว่า พันธุ์ RPF6 ให้ผลผลิตเมล็ดต่อต้นสูงที่สุด 107.4 กรัม และให้เปอร์เซ็นต์น้ำมัน ที่สกัดสูง 15.3% ส่วนการศึกษาผลของพันธุ์และระยะ เก็บเกี่ยวต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด โดยศึกษา ในกัญชงจำนวน 8 พันธุ์ และระยะเก็บเกี่ยว 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเก็บเกี่ยวที่ 50, 75 และ 100% พบว่าพันธุ์ RPF6 เก็บเกี่ยวที่ระยะ 75% มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด ที่ 94.0% ดังนั้น ควรแนะนำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวเมล็ดกัญชง ที่ระยะ 75% สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อจำหน่าย และสกัดน้ำมัน |