ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อบัณฑิตของสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
รหัสดีโอไอ
Creator กฤษฎา เจริญมูล
Title ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อบัณฑิตของสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
Contributor กมลมนัส วัฒนา, พัชรา บำรุง
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 2
Page no. 236-247
Keyword ความพึงพอใจ, ผู้ประกอบการ, บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract คุณลักษณะของบัณฑิตที่สถานประกอบการพึงพอใจนั้นเป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการบ่มเพาะนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาไปเป็นบัณฑิตที่สถานประกอบการต้องการ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษาความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อบัณฑิตที่มีลักษณะแตกต่างกันบางประการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวแทนสถานประกอบการหรือนายจ้างของบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 117 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ t-test และ F-test เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลที่จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม และมากกว่า 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.00) และหญิง (ร้อยละ 47.00) ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยสามในสี่ (ร้อยละ 75.20) เป็นหน่วยงานเอกชน มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.80) เป็นเจ้าของกิจการ และทำงานร่วมกับบัณฑิตมา 6 เดือน ถึง 1 ปี (ร้อยละ 54.70) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( equation =4.32) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านทักษะการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับสูงที่สุด ( equation =4.58) ในขณะที่ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับต่ำที่สุด ( equation=3.97) อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างพบว่า ผู้ประกอบการที่มีเพศแตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตด้านคุณธรรมจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ในขณะที่ผู้ประกอบการที่มีความสัมพันธ์กับบัณฑิตในสถานะที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ