คุณสมบัติของแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เพื่อใช้เป็นโพรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รหัสดีโอไอ
Creator อรทัย แดงสวัสดิ์
Title คุณสมบัติของแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เพื่อใช้เป็นโพรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
Contributor สมพงษ์ สุขขาวงษ์, วราภรณ์ สีหาโมก, เกศกนก พงษ์พิชิต, อภิสิทธิ์ โสภาส, กมลรัตน์ บุญบางขันธ์, พัทธพล พรหมภักดี, ปฏิมา เพิ่มพูนพัฒนา
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 2
Page no. 83-96
Keyword ศักยภาพ, น้ำบ่อเลี้ยงปลา, โพรไบโอติก, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียโพรไบโอติกที่มีศักยภาพจากน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เพื่อประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จากการคัดแยกพบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 3 ไอโซเลต ที่เป็นแบคทีเรียในกลุ่มของ Bacillus sp. ได้แก่ ไอโซเลต KP1, KP4 และ KP5 โดยทุกไอโซเลตมีประสิทธิภาพการสร้างสปอร์สูง บนอาหาร DSM คือ 98.98, 94.99 และ 94.45 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพการสร้างสปอร์ในอาหาร LB คือ 98.92, 97.79 และ 99.30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทั้ง 3 ไอโซเลตสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่ pH 1.0-3.0 และเกลือน้ำดีความเข้มข้น 0.5-5.0 เปอร์เซ็นต์ ได้นาน 3 ชั่วโมง โดยมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า 72 เปอร์เซ็นต์ และมีความไวต่อสารปฏิชีวนะ KP1 และ KP4 มีประสิทฺธิภาพยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ Staphylococcus aureus, Escherichia coli และ Vibrio parahaemolyticus ส่วน KP5 มีประสิทฺธิภาพยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ทุกไอโซเลตสามารถทนต่อความเค็มที่ใกล้เคียงกับสภาวะของน้ำเลี้ยงที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี โดยมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การทดลองนี้แสดงให้ว่า KP1, KP4 และ KP5 มีศักยภาพเป็นโพรไบโอติก เพื่อการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนต่อไป
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ