![]() |
การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของคาร์บอนด้วยพลาสมาความดันบรรยากาศ สำหรับการแช่ด้วยน้ำมันหอมระเหยกานพลูเพื่อควบคุมไรศัตรูผึ้ง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วีรนันท์ ไชยมณี |
Title | การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของคาร์บอนด้วยพลาสมาความดันบรรยากาศ สำหรับการแช่ด้วยน้ำมันหอมระเหยกานพลูเพื่อควบคุมไรศัตรูผึ้ง |
Contributor | พรพิมล พาซู, ประดุง สวนพุฒิ, ธรรมนูญ บุญมี |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 52-64 |
Keyword | Tropilaelaps, ผึ้ง, คาร์บอน, เทคโนโลยีพลาสมาความดันบรรยากาศ, น้ำมันหอมระเหยกานพลู |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | Tropilaelaps เป็นไรศัตรูผึ้งที่มีการแพร่ระบาดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง โดยไรชนิดนี้สามารถทำลายตัวอ่อนผึ้ง ทำให้ตัวอ่อนผึ้งตายและอาจส่งผลให้รังผึ้งล่มสลายในที่สุด ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของพลาสมาความดันบรรยากาศชนิดเจ็ทโดยแก๊สอาร์กอนด้วยแรงดันไฟฟ้าแหล่งจ่าย 4.758 กิโลโวลต์ และความถี่ 829.901 กิโลเฮิร์ต ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติการ ดูดซับ การระเหย และการปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยกานพลูของคาร์บอน พบว่าคาร์บอนที่ผ่านการฉายพลาสมาที่อัตราไหลของแก๊สอาร์กอนเท่ากับ 1 ลิตร/นาที นาน 60 วินาที มีค่าการดูดซับน้ำมันหอมระเหยกานพลู ได้สูงสุดเท่ากับ 0.0080±0.0003 ไมโครลิตรต่อมิลลิกรัมน้ำหนักแห้งของวัสดุ น้ำมันหอมระเหยมีการปลดปล่อยสูงขึ้นในชั่วโมงที่ 4-8 หลังผ่านพลาสมา และในชั่วโมงที่ 72 คาร์บอนมีการปลดปล่อยอยู่ในช่วง 17.127±2.212 ถึง 21.513±2.330 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร นอกจากนั้นยังพบว่าอัตราการระเหยของน้ำมันกานพลูบนวัสดุคาร์บอนมีค่าสูงสุดในชั่วโมงที่ 2 ของการทดลอง ซึ่งคาร์บอนที่ไม่ได้ผ่านพลาสมามีอัตราการระเหยสูงสุด เท่ากับ 0.2442±0.0807 ไมโครลิตรต่อกรัมต่อชั่วโมง แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลอง จากผลการวิจัยในครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางในการหาสภาวะที่เหมาะสมของพลาสมาในการเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุตัวกลางในการดูดซับและปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการควบคุมไรผึ้งได้ |