![]() |
ผลของแคลเซียมคลอไรด์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะออกดอกถึงติดผลของต้นลำไย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วินัย วิริยะอลงกรณ์ |
Title | ผลของแคลเซียมคลอไรด์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะออกดอกถึงติดผลของต้นลำไย |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1-13 |
Keyword | ประสิทธิภาพการทำงานของแสงที่สอง, การนำไหลของปากใบ, นอกฤดู |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | ลำไยเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีพื้นที่ปลูกแพร่หลายทางภาคเหนือของไทย การออกดอกของลำไยนอกฤดูทำได้โดยการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตราดทางดินหรือพ่นทางใบ สภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะแห้งแล้งส่งผลกระทบทางลบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลำไย ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีลดอุณหภูมิของใบลำไยโดยการให้แคลเซียมคลอไรด์ กับลำไยพันธุ์ดอที่ปลูกในกระถางพลาสติกขนาด 14 นิ้ว ภายในโรงเรือนพลาสติก ณ แปลงลำไย สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ขุยมะพร้าวผสมกับกาบมะพร้าวเป็นวัสดุปลูก ให้สารละลายธาตุอาหารทางระบบน้ำวันละ 1 ลิตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยพ่นแคลเซียมคลอไรด์ทางใบความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 2, 3, และ 4 mM พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของแสงที่สอง (øPSII) และค่าความเขียวของใบ (SPAD values) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่การพ่นแคลเซียมคลอไรด์ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดของแสงที่สอง (Fv/Fm) ในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แต่การพ่นแคลเซียมคลอไรด์ทุกความเข้มข้นสามารถรักษาประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดของแสงที่สอง (Fv/Fm) และค่าการนำไหลของปากใบได้ดีกว่าการไม่พ่นสารในเดือนเมษายน นอกจากนี้การพ่นแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 4 mM มีการติดผลมากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ |