ห่วงโซ่อุปทานและการเพิ่มมูลค่าของน้อยหน่าผลสดพันธุ์เพชรปากช่อง ของอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
รหัสดีโอไอ
Creator สุรัสวดี อรุณวรากรณ์
Title ห่วงโซ่อุปทานและการเพิ่มมูลค่าของน้อยหน่าผลสดพันธุ์เพชรปากช่อง ของอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
Contributor เจียระไน กิจไทยสงค์, ชัชวัล วงศ์วัฒนกิจ
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 228-239
Keyword การวิเคราะห์ต้นทุน, น้อยหน่า, ห่วงโซ่อุปทาน, การเพิ่มมูลค่า
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกรผู้ปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 สวน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน กระบวนการดำเนินงาน ต้นทุน และวิธีการลดต้นทุนของเกษตรกรผู้ปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง นอกจากนี้ยังมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ โดยสุ่มตัวอย่างจากนิสิตระดับปริญญาตรี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำนวน 101 ราย เพื่อศึกษาและหาวิธีการเพิ่มมูลค่าน้อยหน่าผลสด จากการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยซัพพลายเออร์ เกษตรกร และช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ 2) กระบวนการดำเนินงาน ได้แก่ เตรียมปัจจัยพื้นฐาน ปลูก ซ่อมแซม ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว และจัดจำหน่าย 3) ต้นทุนรวมโดยเฉลี่ยของการปลูกน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง เท่ากับ 13,726.70 บาท/ปี/ไร่ 4) รูปแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่สามารถเพิ่มมูลค่าจากถุงพลาสติกหูหิ้วปกติได้สูงสุด ได้แก่ กล่องทึบด้านบนใส เพิ่มมูลค่า 32.23 บาท/กิโลกรัม 5) รูปแบบบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยที่สามารถเพิ่มมูลค่าจากน้อยหน่าผลสดปกติได้สูงสุด ได้แก่ การห่อโฟมตาข่ายแบบเต็มผลและติดตราสินค้า เพิ่มมูลค่า 10.90 บาท/ผล และบรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยแบบโฟมตาข่าย ที่สีแตกต่างกัน (สีเหลือง ขาว และแดง) มีผลต่อราคาที่ยอมรับได้ของน้อยหน่าผลสดที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าของน้อยหน่าผลสดพันธุ์เพชรปากช่องได้ต่อไป
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ