![]() |
การวิเคราะห์ความเป็นได้ในการลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจในการปลูกพืชในจังหวัดราชบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กษมา ศิริสมบูรณ์ |
Title | การวิเคราะห์ความเป็นได้ในการลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจในการปลูกพืชในจังหวัดราชบุรี |
Contributor | จันทนา สังวรโยธิน |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 216-227 |
Keyword | ถั่วฝักยาว, พริกจินดา, สับปะรด, ลำไย, การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ, การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน, ความอ่อนไหว |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเก็บข้อมูลต้นทุนเริ่มต้น ต้นทุนการปลูกพืชและแรงงาน ตลอดจนวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนภายใน ความสามารถในการทำกำไร และความอ่อนไหวของการปลูกถั่วฝักยาว พริกจินดา สับปะรด และลำไย โดยใช้อัตราคิดลดและอัตราผลตอบแทนที่ร้อยละ 20 เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจลงทุน ในพื้นที่เพาะปลูก 10 ไร่ที่อยู่ติดแหล่งน้ำของจังหวัดราชบุรี จากการศึกษานี้พบว่าการปลูกพืชทั้ง 4 ชนิด มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวก โดยการปลูกลำไยให้ค่าสูงสุดที่ 2,275,142 บาท นอกจากนี้ลำไยเป็นพืชที่มีดัชนีกำไรสูงสุดเท่ากับ 11 แต่มีระยะเวลาคืนทุนที่ค่อนข้างนาน (5 ปี 3 เดือน) และมีเงินลงทุนสูงที่สุด การปลูกสับปะรดมีต้นทุนเริ่มต้นต่ำที่สุด เนื่องจากไม่ต้องวางระบบน้ำและมีอุปกรณ์ทางการเกษตรน้อย และเป็นพืชที่มีผลตอบแทนภายในสูงที่สุด แต่ผลตอบแทนครั้งแรกจะต้องรอ 1 ปี ในขณะที่การปลูกถั่วฝักยาวและพริกจินดามีต้นทุนอยู่ระหว่างการปลูกสับปะรดและลำไย โดยการปลูกพืชทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมอและรวดเร็วกว่าพืชชนิดอื่น เนื่องจากมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างเร็ว (ประมาณ 3 เดือน) เมื่อพิจารณาจากความอ่อนไหวในกรณีที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น 20% พบว่าการลงทุนการปลูกถั่วฝักยาวและ พริกจินดาไม่น่าลงทุน ในขณะที่การปลูกสับปะรดและลำไยยังให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ |