![]() |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง จังหวัดอุบลราชธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา |
Title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง จังหวัดอุบลราชธานี |
Contributor | กุลภา กุลดิลก, เออวดี เปรมัษเฐียร, บวร ตันรัตนพงศ์ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 185-199 |
Keyword | การปรับตัว, ความสามารถในการปรับตัว, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การเลี้ยงปลานิลในกระชัง, อุบลราชธานี |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | จังหวัดอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงปลานิลจำนวนมาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งจากภัยแล้งและอุทกภัย การศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในกระชัง จะมีส่วนสำคัญในการวางแผนและเตรียมการอย่างเหมาะสมต่อเกษตรกร ทั้งนี้ข้อมูลการศึกษาได้มาจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 200 ราย โดยใช้ Tobit regression ในการวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังมีการรับรู้และเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศค่อนข้างมาก เกษตรกรมีความกังวลหากฝนตกหนักมากขึ้น และเกิดภาวะภัยแล้งมากขึ้นว่าจะส่งผลต่อการเลี้ยงปลานิลในกระชัง ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวต่าง ๆ เช่น กรณีฝนตกหนักมากเกินไปหรือน้ำท่วม เกษตรกรจะปรับตัวโดยการเคลื่อนย้ายกระชังให้ปลอดภัย และปรับตัวโดยการวัดคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีแห้งแล้งเกษตรกรจะปรับตัวโดยการเคลื่อนย้ายกระชังไปบริเวณ ที่มีน้ำ และปรับความหนาแน่นของการปล่อยปลาในกระชัง ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีที่เกิดน้ำท่วมหรือแห้งแล้ง พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังจะมีการวางแผนหารายได้เสริมเพื่อลดความเสี่ยง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า ในช่วงของฤดูฝนหรือภาวะน้ำท่วม และในช่วง ฤดูร้อนหรือการเกิดภาวะแห้งแล้ง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวเพิ่มขึ้นเหมือนกันทั้งสองช่วงฤดูกาล ได้แก่ อายุของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง ที่เพิ่มขึ้น การรับรู้และตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น การเข้าอบรมการเลี้ยงปลานิล ความรู้สึกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่มากขึ้น การเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อความรู้ด้านการเลี้ยงปลานิล ปัจจัยที่ต่างกันที่ส่งผลเฉพาะในช่วงฤดูร้อนแห้งแล้ง ได้แก่ การรวมกลุ่ม และการทำเกษตรพันธสัญญา สำหรับปัจจัยที่ส่งผลในทางตรงกันข้ามของทั้งสองฤดูกาลนั้นไม่แตกต่างกัน ได้แก่ การมีหนี้สินที่เพิ่มขึ้น การประกอบอาชีพเลี้ยงปลานิลเป็นหลัก ข้อเสนอแนะจากการวิจัยสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง ควรมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงหรือกระจายความเสี่ยงจากต้นทุนและรายได้ การลดการเป็นหนี้เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการปรับตัว การเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังในรายอื่น ๆ ควรมีการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มความตระหนักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจจะส่งผลต่อการเลี้ยงปลานิลในกระชัง การมีทักษะในการค้นหาข้อมูลด้าน การเลี้ยงปลาจากอินเตอร์เน็ตที่ทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการผลักดันให้เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มได้มากขึ้น |