การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในชุมชนห้วยแคน หมู่ที่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
รหัสดีโอไอ
Creator พิมลวรรณ เกตพันธ์
Title การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในชุมชนห้วยแคน หมู่ที่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
Contributor รพี ดอกไม้เทศ, ธำรงค์ เมฆโหรา, นิติรัตน์ รักสัตย์
Publisher สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Journal Of Agricultural Research And Extension
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 173-184
Keyword การปรับตัว, ชุมชนห้วยแคน, มันสำปะหลัง, โรคใบด่างมันสำปะหลัง
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
Website title website Journal Of Agricultural Research And Extension
ISSN 2985-0118 (Online)
Abstract โรคใบด่างมันสำปะหลังสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรในด้านของความเสียหายต่อปริมาณผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานและสภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ 2) ผลกระทบการเกิดโรคใบด่าง มันสำปะหลังต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 3) การปรับตัวของเกษตรกรต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง การวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ชุมชนห้วยแคน หมู่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 103 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.43) เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.00 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 39.81) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนในการปลูก มันสำปะหลังเฉลี่ย 4 คนต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.11) ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และมีรายได้เฉลี่ย 50,340.15 บาทต่อครัวเรือนต่อรอบการผลิต 2) ผลกระทบจากสถานการณ์โรคใบด่าง มันสำปะหลังประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตรกรได้รับผลกระทบในด้าน ของผลผลิตเสียหาย และเกษตรกรได้รับผลกระทบในด้านของปริมาณผลผลิตลดลง ส่วนผลกระทบด้านสังคม ได้แก่ เกษตรกรประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงอาชีพ และเกษตรกรประสบปัญหาการขัดแย้ง 3) การปรับตัวของเกษตรกรประกอบด้วย 3 ด้าน คือ การปรับตัวด้านการผลิต ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลรักษาและการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาในการปลูกมันสำปะหลัง การปรับตัวด้านอาชีพ ได้แก่ การปลูกพืชผสมผสานและการเปลี่ยนพืชที่ปลูก และการปรับตัวในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในด้านของการบริหารจัดการ ท่อนพันธุ์และแหล่งที่มา และการเปลี่ยนแปลงในด้านของการติดตามสถานการณ์โรคใบด่าง มันสำปะหลังและการคาดการณ์ล่วงหน้า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่า รายได้ของเกษตรกรสามารถอธิบายด้วยตัวแปรจากการปรับตัวของเกษตรกรจากสถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง ที่เกิดขึ้น โดยมีค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้วเท่ากับร้อยละ 61.40
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ