![]() |
ผลกระทบอุณหภูมิและเวลาไพโรไลซิสที่มีต่อคุณสมบัติถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากทางใบปาล์ม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นิกราน หอมดวง |
Title | ผลกระทบอุณหภูมิและเวลาไพโรไลซิสที่มีต่อคุณสมบัติถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากทางใบปาล์ม |
Contributor | บุณยาพร แสนพรม, ประภัสสร รัตนไพบูลย์, กิตติกร สาสุจิตต์, นคร ทิพยาวงค์ |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 147-161 |
Keyword | กระบวนการไพโรไลซิส, ถ่านชีวภาพ, ทางใบปาล์ม, น้ำส้มควันไม้, ผลกระทบอุณหภูมิและระยะเวลาไพโรไลซิส |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | website Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | กระบวนการปลูกปาล์มน้ำมันมีวัสดุเหลือทิ้งในปริมาณสูงโดยเฉพาะทางใบปาล์ม การเปลี่ยนรูปชีวมวล ทั้งสองด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิสเพื่อเป็นถ่านและน้ำส้มควันไม้ เป็นแนวทางสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและระยะเวลาไพโรไลซิสที่มีต่อคุณสมบัติทางเคมีของถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากทางใบปาล์มน้ำมัน กระบวนการไพโรไลซิสแบบช้าใช้ช่วงอุณหภูมิ 400-700 ?ซ. และระยะเวลา 60-180 นาที การให้ความร้อนในกระบวนไพโรไลซิสใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบฮีตเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ และใช้ไนโตรเจน เป็นแก๊สพาที่อัตราการป้อน 5 ลิตร/นาที การวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ การวิเคราะห์โดยประมาณ ค่าความร้อน ความถ่วงจำเพาะ และค่าความเป็นกรด-ด่าง ภายใต้มาตรฐาน ASTM ผลการทดลองพบว่า ทางใบปาล์ม มีศักยภาพในการผลิตเป็นถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ การเพิ่มอุณหภูมิและระยะเวลาไพโรไลซิสส่งผลให้สารระเหยลดลง ในขณะที่คาร์บอนคงตัวและเถ้าเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิและระยะเวลาไพโรไลซิสที่เหมาะสมสูงสุดในการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 450?ซ. และ 120 นาที ตามลำดับ สัดส่วนสูงสุดในการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้คิดเป็น 32.05 และ 47.76 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ถ่านชีวภาพให้ค่าความร้อนเฉลี่ย 25.53 เมกะจูล/กิโลกรัม ส่วนน้ำส้มควันไม้ให้ความถ่วงจำเพาะและค่าความเป็นกรด–ด่างเท่ากับ 1.075 และ 1.89 ตามลำดับ ทางใบปาล์มสามารถนำมาผลิตเป็นถ่านและน้ำส้มควันไม้ได้ เหมาะสมสำหรับการใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและงานในภาคเกษตร |