![]() |
การสกัดและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรหนอนตายหยาก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สมหมาย ปะติตังโข |
Title | การสกัดและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรหนอนตายหยาก |
Contributor | กิ่งแก้ว ปะติตังโข |
Publisher | สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 118-130 |
Keyword | การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ, ผลิตภัณฑ์, ธรรมชาติการสกัด, หนอนตายหยาก |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN |
Website title | Journal Of Agricultural Research And Extension |
ISSN | 2985-0118 (Online) |
Abstract | หนอนตายหยาก (Stemona collinsae Craib) มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีประสิทธิภาพทางยาตามภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ที่จะนำสมุนไพรหนอนตายหยากมาสกัด หาปริมาณฟีนอลิกรวม ทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีดีพีพีเอส การต้านโรคแคงเกอร์ของมะนาว และเปรียบเทียบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดกับสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและน้ำหมักชีวภาพสูตรผสม Bacillus cereus ที่เกษตรกรใช้ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนมีปริมาณสารฟีนอลิกรวมสูงสุด 6.21?0.83 มก./ลิตร ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH พบว่าสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดที่ IC50 เท่ากับ 46.62 มก./ลิตร สารสกัดหยาบเอทานอลออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสาเหตุของโรคแคงเกอร์ได้ดีที่สุดด้วยค่าเฉลี่ยของเคลียร์โซน 12.67.00?1.73 มม. และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและน้ำหมักชีวภาพสูตรผสม Bacillus cereus นอกจากนี้สารสกัดหยาบเอทานอลยังสามารถออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งสีชมพูและต้านไรแดงที่เป็นศัตรูของมะนาวได้อีกด้วย |