![]() |
นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้รูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารแบบเครือข่าย ของกลุ่มโรงเรียนเอกชนคาทอลิกภาคใต้ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เพชรสุภัค กิจสกุล |
Title | นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้รูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารแบบเครือข่าย ของกลุ่มโรงเรียนเอกชนคาทอลิกภาคใต้ |
Contributor | พิภพ วชังเงิน, ทนง ทองภูเบศร์ |
Publisher | ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 207-221 |
Keyword | นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล, การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม, การบริหารสถานศึกษาแบบเครือข่าย, โรงเรียนเอกชนคาทอลิกภาคใต้ |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm |
ISSN | 2774-1036 |
Abstract | บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของนวัตกรรมและทฤษฎีในการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล2)เพื่อออกแบบนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลและ3)เพื่อกำหนดแนวทางการใช้นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลการวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษา รางวัลพระราชทานและที่ได้รับผลการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)ระดับดีเยี่ยมและดีมาก จำนวน 8 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2)แผนการวิจัยปฏิบัติการโดยใช้หลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและ3)แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัยด้วยเทคนิคผลการวิจัย พบว่า1.องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ได้แก่ 1)การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 4 ด้าน คือ (1)ด้านการตัดสินใจ(2)ด้านการปฏิบัติ(3)มีส่วนร่วมจากบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร และ (4)ด้านการประเมิน และ 2)การบริหารสถานศึกษาแบบเครือข่าย 5 ด้าน คือ(1)ด้านการศึกษา (2)ด้านสังคม (3) ด้านชุมชน(4)ด้านผู้ปกครองและ(5)ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร2.นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนเอกชนคาทอลิกภาคใต้ คือรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผสมผสานกับการบริหารแบบเครือข่ายและ3.แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ได้แก่ (1)การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา(2)การสร้างวัฒนธรรมสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง(3)การจัดการความรู้ในสถานศึกษายุคดิจิทัล(4)การทำงานเป็นเครือข่าย(5)การบริหารเทคโนโลยี(6)การยอมรับเทคโนโลยีนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงและ(7)การเข้าถึงเทคโนโลยีโดยเชื่อมโยงความคิดและความรู้ให้กับผู้เรียน |