กลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ปนิดา มูลนานัด
Title กลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย
Contributor ชัชวาล แสงทองล้วน, กาญจนา พันธุ์เอี่ยม
Publisher ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน
Journal Vol. 6
Journal No. 3
Page no. 191-206
Keyword กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร, กลยุทธ์, นวัตกรรม
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm
ISSN 2774-1036
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ1)เพื่อพรรณนาการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย2)เพื่อระบุปัญหาการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยและ3)เพื่อเสนอกลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ได้แก่ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำนวน 12 ท่าน เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำนวน 4 ท่านเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) วิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีการจัดการเพื่อยกระดับตามแนวทางของกรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 5 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านการจัดการ 2) มิติด้านการจัดการทุนและทรัพยากร 3)มิติการพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิก 4) มิติด้านการพัฒนาสินค้าและบริการ 5) มิติด้านการบริการสาธารณะประโยชน์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยมีแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็นทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ 1)ระดับดี 2)ระดับปานกลาง 3)ระดับปรับปรุง 2.ปัญหาการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีดังนี้ 1) ด้านกลยุทธ์ ยังขาดการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน 2)ด้านโครงสร้างรูปแบบการจัดโครงสร้างยังไม่ชัดเจน 3)ด้านรูปแบบ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน 4)ด้านระบบ ยังไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ 5)ด้านบุคลากร ยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน และมีบุคลากรไม่เพียงพอกับงาน 6)ด้านทักษะยังขาดทักษะทางด้านการตลาด และ ด้านบริหารจัดการองค์กร 7)ด้านค่านิยมร่วม กลุ่มยังขาดการกำหนดค่านิยมร่วมในองค์กรและขาดการผลักดันให้เกิดค่านิยมร่วมกันภายในกลุ่ม 3.เสนอกลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซึ่งมีทั้งหมด 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ระดับองค์กร ใช้กลยุทธ์ การเติบโต 2) ระดับธุรกิจ ใช้กลยุทธ์ ความแตกต่าง และการสร้างความแข็งแกร่งต่อระบบองค์กร 3)ระดับหน้าที่ใช้กลยุทธ์ นวัตกรรมตามภาระกิจ
ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ