![]() |
บทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อารีรัตน์ เกตุสุข |
Title | บทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 |
Contributor | สมใจ สืบเสาะ |
Publisher | ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 130-144 |
Keyword | บทบาทการบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาล, ผู้บริหารสถานศึกษ |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm |
ISSN | 2774-1036 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 2)เพื่อเปรียบเทียบบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษาการวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการบริหารการศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารและครู จำนวน 329 คนกำหนดขนาดตัวอย่างโดยตารางของเครจซี่และมอร์แกนและวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่าระดับบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 ภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับบทบาทการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 และเขต 2 โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษาภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำไปวางแผนและส่งเสริมให้สถานศึกษาหน่วยงานการศึกษามีการบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |