![]() |
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วจีนันท์ สิทธิรักษ์ |
Title | แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ |
Contributor | พิภพ วชังเงิน |
Publisher | ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 97-114 |
Keyword | ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรม, แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm |
ISSN | 2774-1036 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างข้าราชการครู จำนวน 336 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบประเมินแนวทาง สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่ควรจะเป็น อยู่ในระดับมาก 2. สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุด ได้แก่ (1) การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (2) การมีวิสัยทัศน์ (3) การสร้างแรงจูงใจ (4) การทำงานเป็นทีม (5) การมีความคิดสร้างสรรค์องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษา สามารถนำไปพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และพัฒนาการบริหารสถานศึกษาต่อไป |