![]() |
การนำนโยบายการรับราชการทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอไปปฏิบัติ:ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นพดล ฟักอังกูร |
Title | การนำนโยบายการรับราชการทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอไปปฏิบัติ:ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข |
Contributor | ศุภชัย ยาวะประภาษ |
Publisher | ชมรมวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 237-250 |
Keyword | การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การรับราชการทหารกองประจำการ, การร้องขอหรือการสมัคร |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/index |
ISSN | 2672-9067 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายการรับราชการทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอไปปฏิบัติ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ กรุงเทพ น่าน กาฬสินธุ์ และสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีผู้ร้องขอเข้ารับราชการทหารกองประจำการครบตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละภาค ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต สัสดีเขต ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และสัสดีอำเภอ จำนวน 28 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายไปปฏิบัติ คือศักยภาพและความสามารถในการทำงานที่แตกต่างกันของหน่วยสัสดีจังหวัด การตอบสนองต่อความต้องการด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ ความก้าวหน้า ความมีศักดิ์ศรี และการรับรู้แหล่งที่มาของนโยบาย ระยะเวลาดำเนินนโยบายและการตอบสนองต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติที่แตกต่างกัน2. แนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จคือ ผู้ปฏิบัติต้องมีภาวะผู้นำ ทำงานเชิงรุก และทำงานเป็นทีมร่วมกับทุกภาคส่วน จูงใจผู้สมัครให้สอดคล้องกับความต้องการ สร้างการรับรู้นโยบายให้ชัดเจนโดยสื่อสารโครงการของทหารหรือบุคคลตัวอย่างทางการทหารที่สร้างคุณค่ากับสังคม และควรรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้ประสบความสำเร็จต่อไปข้อค้นพบจากงานวิจัยที่สำคัญคือ การนำนโยบายไปปฏิบัติของหน่วยย่อยในองค์การ มีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยด้านหน่วยสัสดี เครื่องมือจูงใจ การประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ของทหาร และการรับรู้นโยบาย |