![]() |
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม ใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กันตพงศ์ คุ้มโนนชัย |
Title | พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม ใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร |
Contributor | อธิป จันทร์สุริย์ |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 164-171 |
Keyword | พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365 |
Website title | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365 |
ISSN | ISSN 2630-0478 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามที่ใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 21 – 30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพค้าขายและธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 8,000,000 ดอง (น้อยกว่า 10,000 บาท) 2) ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามพบว่า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามเลือกเดินทางท่องเที่ยวที่ประตูน้ำ ลักษณะการเดินทางคือท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ใช้ช่วงเวลาวันหยุดพักร้อนประจำปีในการเดินทางท่องเที่ยว งบประมาณใช้จ่ายเฉลี่ยนต่อวันน้อยกว่า 5,000 บาท ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยว 1 – 5 วัน ส่วนใหญ่เข้าพักแรมที่โรงแรม สนใจกิจกรรมการท่องเที่ยวทางศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ทราบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต และจะกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทยซ้ำอีก ด้านส่วนประสมทางการตลาดด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ และ ด้านกระบวนการ ตามลำดับ 3) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวพบว่า อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ อายุ สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 การเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพที่ต่างกันมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 |