การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จ.นครราชสีมา
รหัสดีโอไอ
Creator ณัฏฐริกา กงสะกุ
Title การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จ.นครราชสีมา
Contributor ปอยหลวง บุญเจริญ, จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง
Publisher คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Publication Year 2565
Journal Title วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
Journal Vol. 5
Journal No. 4
Page no. 12-21
Keyword การพัฒนาบรรจุภัณฑ์, เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน, กราฟิกบรรจุภัณฑ์
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365
Website title https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17365
ISSN ISSN 2630-0478
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนและบรรจุภัณฑ์ 2)เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จ.นครราชสีมา 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานและความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเอกสารการสัมภาษณ์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สอบถามความคิดเห็น และนำข้อมูลมาสรุปและทําการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน โดยโครงสร้างกล่องสี่เหลี่ยมแบบมีหูหิ้ว ใช้วัสดุกันกระแทก และออกแบบกราฟิก 3 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบกราฟิกประตูชุมพล รูปแบบกราฟิกวิถีชีวิตชุมชนด่านเกวียน และรูปแบบกราฟิกร้านค้าเครื่องปั้นดินเผาผลการวิจัยมีดังนี้ การทดสอบประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์ด้านการต้านความสั่นสะเทือน วิธีการทดสอบ/วิเคราะห์ International Safe Transit Association: Resource Book 2017; Test Procedure-1A-Fixed Displacement Vibration test ความถี่ 240 รอบต่อนาที ระยะการสั่น 25 มิลลิเมตร ระยะเวลาทดสอบ 60 นาที สภาวะการทดสอบ อุณหภูมิ (31 ± 2) °ซ. ความชื้นสัมพัทธ์ (67 ± 5)% บรรจุภัณฑ์ วัสดุกันกระแทกและสินค้าไม่ปรากฏความเสียหาย การสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ พบว่ากราฟิกบรรจุภัณฑ์รูปแบบวิถีชีวิตชุมชนด่านเกวียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( ¯X= 4.23) (S.D. = 0.40) การสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบการและกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กราฟิกบรรจุภัณฑ์รูปแบบวิถีชีวิตชุมชนด่านเกวียนสื่อถึงสินค้าเครื่องปั้นดินเผาและสื่อถึงแหล่งที่มาของชุมชนด่านเกวียนได้อย่างชัดเจน โดยมีภาพวาดเรื่องราวเล่ารายละเอียดวิถีชีวิตการทำเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนในอดีต มีความเหมาะสมกับการเป็นบรรจุภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกของชุมชนอย่างชัดเจน
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ