การศึกษาความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุจังหวัดจันทบุรีโดยใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
รหัสดีโอไอ
Creator ชิดชนก ศรีราช
Title การศึกษาความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุจังหวัดจันทบุรีโดยใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
Contributor ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร
Publisher คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Publication Year 2565
Journal Title วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร
Journal Vol. 5
Journal No. 3
Page no. 180-189
Keyword ความอ่อนตัว, คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย, ผู้สูงอายุ, โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17257
Website title https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ISSC/issue/view/17257
ISSN ISSN 2630-0478
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความอ่อนตัว คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี และ (2) เปรียบเทียบความอ่อนตัว และคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 74 ปี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความอ่อนตัว และแบบวัดคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .39-.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One way MANOVA)ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสัมพันธ์ระหว่างความอ่อนตัวกับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย มีค่าเท่ากับ 0.72มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ความสัมพันธ์ระหว่างความอ่อนตัวกับดัชนีมวลกาย และคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย (กับดัชนีมวลกายมีค่าเท่ากับ 0.70 และ 0.12 ตามลำดับ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(2)ผู้สูงอายุกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อมีคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และความอ่อนตัวมากกว่ากับกลุ่มที่ออกกำลังกายตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ