![]() |
อัตลักษณ์ไทโส้ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน |
Title | อัตลักษณ์ไทโส้ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม |
Contributor | วัชชิระพร โคตรชมพู, ลูน่า โอเซน |
Publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1-19 |
Keyword | ไทโส้, พะทาย, อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal |
Website title | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา |
ISSN | 2985-1246 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ในตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และ 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ในตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์ และใช้แนวคิดประเพณีประดิษฐ์ (Invented tradition) แนวคิดอัตลักษณ์ (Identity) แนวคิดชาติพันธุ์ (Ethnic) และแนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (Local history) เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์และตีความข้อมูล ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีการอพยพเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกระจัดกระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น นครพนม สกลนคร หนองคาย และมุกดาหาร เป็นต้น โดยพบมากในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร กลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นส่วนหนึ่งที่แยกตัวมาจากไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เนื่องจากในอดีตเกิดโรคระบาด รวมทั้งมีประชากรที่เพิ่มขึ้นและปัญหาความแห้งแล้ง จึงพากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ตำบลพะทาย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะแก่การอยู่อาศัย ด้านอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า ไทโส้ตำบลพะทายมีอัตลักษณ์ทางด้านภาษา ประเพณีและวัฒนธรรม พิธีกรรมและความเชื่อที่โดดเด่น โดยในแต่ละปีได้มีการจัดประเพณี “รวมใจไทโส้” เพื่อให้ประชาชนในชุมชนอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ และเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ทางด้านชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในจังหวัดนครพนมอีกด้วย |