![]() |
อัตลักษณ์การแต่งกายของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ไชยพร สมานมิตร |
Title | อัตลักษณ์การแต่งกายของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย |
Contributor | ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์ |
Publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 75-89 |
Keyword | พระพุทธศาสนา, อนัมนิกาย, อัตลักษณ์การแต่งกาย |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal |
Website title | วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา |
ISSN | 2985-1246 (Online) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงอัตลักษณ์การแต่งกายของคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทยในรัชสมัยพ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระองค์ทรงรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจําชาติ ทรงอุปถัมภ์บํารุงให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบันนี้ และนิกายสําคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องและยาวไกลมีอยู่ 2 นิกาย คือ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการตั้งคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย จึงเป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธมหายานจากประเทศเวียดนามได้เข้ามายังกรุงเทพมหานคร ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากชุมชนจีนและไทยด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมชุมชนของพุทธอนัมนิกาย ซึ่งการแต่งกายของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย ปัจจุบันพระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายและฝ่ายจีนนิกายสวมเสื้อและกางเกง ครองจีวร และไม่โกนคิ้ว ซึ่งแตกต่างจากพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทครองสบง จีวร สังฆาฏิ และโกนคิ้ว อย่างไรก็ตาม อัตลักษณ์ทางศาสนาแนวคิดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีและการประกอบพิธีกรรมด้านต่าง ๆ ของคณะสงฆ์มหายานอนัมนิกายในสังคมไทยจะเห็นได้ว่านอกจากการห่มจีวรของพระสงฆ์ในนิกายมหายานที่มีรูปแบบหลากหลาย คือ “พิธีกรรมต่าง ๆ ที่สืบทอดมานานอย่างยาวไกล ทำให้เกิดการสืบสานมาเป็นองค์กรทางศาสนานาม ‘อนัมนิกาย’ พร้อมการปรากฏอัตลักษณ์ของพระญวนหรือคณะสงฆ์อนัมนิกาย คือ อัตลักษณ์ด้านการแต่งกายบัดนั้น เป็นต้นมา |