![]() |
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ฐิติกรณ์รัศมิ์ ภัททสิริภูวดล |
Title | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 370-391 |
Keyword | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ, การศึกษาต่อระดับปริญญาตรี, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 3027-8589 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา จำนวน 516 คน กลุ่มตัวอย่างใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 438 คน คิดเป็นร้อยละ 84.89 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability Analysis) อยู่ที่ 0.81 – 1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.91 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เลือกศึกษาต่อคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นนักศึกษาที่เลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบ TCAS รอบที่ 1 โควตาค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 37.90 (166 คน) รองลงมาคือ TCAS รอบที่ 1 โควตา Portfolio ร้อยละ 29.00 (127 คน) เป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 71.70 (314 คน) รองลงมาคือแผนการเรียนศิลปศาสตร์-ภาษา ร้อยละ 16.00 (70 คน) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถาบัน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอยู่ในระดับมาก (X= 4.33, S.D. = 0.564) รองลงมาคือ ด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X= 4.25, S.D. = 0.568) ด้านประกอบวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X= 4.25, S.D. = 0.562) และด้านคุณภาพและชื่อเสียงของคณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X= 4.22, S.D. = 0.527) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ให้ความสำคัญที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X= 3.87, S.D. = 0.671) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มตัวอย่างในทุกด้าน เนื่องจากค่า p-value ของทุกด้านมีค่ามากกว่า 0.05 |