![]() |
ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิชเญศ ศรีแจ้ง |
Title | ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี |
Contributor | จุฑาทิพ คล้ายทับทิม |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 345-369 |
Keyword | ความพึงพอใจ, ให้บริการ, งานทะเบียนราษฎร |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 3027-8589 (Online) |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลตำบลลำไทร เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทรของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลำไทรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร กับ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทรใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 26 มกราคม 2567 โดยทำการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนผู้มาใช้บริการจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทร ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 น. ถึงเวลา 16.30 น. จำนวน 346 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่องานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลตำบลลำไทร อยู่ในระดับมาก และมีความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎรของประชาชนผู้มารับบริการ อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความพึงพอใจ ต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรต่างกันพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจแตกต่างกันเป็นไปตามสมมติฐาน ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ และประเภทงานที่เข้ารับบริการ ต่างกันมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร กับความพึงพอใจต่อการให้บริการ เป็นไปตามสมมติฐาน โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง |