ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพ ภายในอำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator รวิกานต์ จิตจักร
Title ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพ ภายในอำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Contributor ภิรดา ชัยรัตน์
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 141-158
Keyword ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, การให้บริการ, สาธารณสุขและสุขภาพ, การเข้าถึง
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 3027-8589 (Online) 
Abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน 2) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เข้ารับบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพภายในสถานพยาบาลทุกประเภท ในอำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคาดหวังต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพแตกต่างกัน และประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในขณะที่ความคาดหวังของประชาชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความพึงพอใจของประชาชนในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ