กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุขจากภาวะโรคระบาดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม
รหัสดีโอไอ
Creator เนตรนภา ชัยชนะ
Title กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุขจากภาวะโรคระบาดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม
Contributor ชินวัตร เชื้อสระคู
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 56-72
Keyword ความขัดแย้ง, ประสิทธิภาพในการทำงาน, นโยบายรัฐบาล, โรคระบาดใหญ่พยาบาลวิชาชีพ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 3027-8589 (Online) 
Abstract การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุขจากภาวะโรคระบาดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง 5 มิติที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งกับนโยบายรัฐด้านสาธารณสุข 3.เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่มีต่อนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จังหวีดมหาสารคาม ทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน จากประชากรทั้งหมด 707 คน เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ ดังนี้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งของพยาบาบาลวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการแข่งขัน มีระดับความคิดเห็นสูงสุด (X = 4.46, S.D = 0.582) และน้อยที่สุด คือ ด้านการหลีกเลี่ยง (X = 4.43, S.D = 0.613) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.40, S.D = 0.618) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเวลา มีระดับความคิดเห็นสูงสุด (X = 4.50, S.D = 0.577) และน้อยที่สุด คือ ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ( X= 4.34, S.D = .611) การรับรู้นโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.23, S.D = 0.717) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน มีระดับความคิดเห็นสูงสุด (X = 4.25, S.D = 0.718) และน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากร (X = 4.17, S.D = 0.747) กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งสามารถร่วมพยากรณ์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม 78.5 % (Adj R2 = 0.785)
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ