การพัฒนาเมืองขอนแก่นตามแนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
รหัสดีโอไอ
Creator นวลจันทร์ วรรณพราหมณ์
Title การพัฒนาเมืองขอนแก่นตามแนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Contributor ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Journal Vol. 13
Journal No. 1
Page no. 288-308
Keyword ถอดบทเรียนการพัฒนา, ความร่วมมือ, ย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 3027-8589 (Online) 
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันในการพัฒนาย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น และ 2)  เพื่อถอดบทเรียนและเสนอแนวทางในการดำเนินงานของการพัฒนาย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์เป็นการวิจัยเชิงแบบผสมระหว่างการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในส่วนของการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และการพัฒนาที่ผ่านมา ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ทำการสำรวจและศึกษาโครงการย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการประชุมกลุ่มย่อย (Group Discussion) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาย่านสร้างสรรค์ในเมืองขอนแก่น ได้มีการดำเนินการที่เรียกว่า ย่านสร้างสรรค์ศรีจันทร์ ซึ่งย่านนี้เคยเป็นถนนสายสำคัญหลักของเมืองขอนแก่น เป็นศูนย์กลางหลัก และเป็นที่ตั้งของทั้งศูนย์ราชการ มีธุรกิจการค้าต่าง ๆ เมื่อศูนย์ราชการย้ายออกไป และเมืองเจริญเติบโตมีการขยายตัวเมืองออกไป ทำให้ธุรกิจการค้าในย่านศรีจันทร์ซบเซา การพัฒนาย่านศรีจันทร์ ได้มีการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่หลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้โครงการนี้ช่วยทำให้ย่านศรีจันทร์มีการพัฒนา และกลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น ปัจจัยและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานของการพัฒนาย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) ความพร้อมและศักยภาพของพื้นที่  2) การเริ่มต้นที่ค้นหาปัญหาและความต้องการเพื่อหาแนวร่วมการ 3) สร้างการมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการทำงาน 4) การสนับสนุนจากภาคีที่เกี่ยวข้องและทรรศนะของหน่วยงานภายนอกที่มีต่อเมือง และ 5) การยอมรับของชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านค้า และประชาชน
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ