![]() |
ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรง จากสำนักงบประมาณ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กิรทัศน์ ในริกูล |
Title | ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรง จากสำนักงบประมาณ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง |
Contributor | ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-21 |
Keyword | การปรับเปลี่ยนองค์กร, คำของบประมาณตรง, องค์การบริหารส่วนจังหวัด |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 3027-8589 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการเป็นหน่วยรับงบประมาณโดยตรงและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรงในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อสอบถามประเด็นความพร้อมและแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการจัดทำคำของบประมาณ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากข้าราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางที่มีประสบการณ์ในแต่ละระดับ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำคำขอรับเงินอุดหนุนต่อสำนักงบประมาณ จำนวน 16 คน ประกอบด้วย 1) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 คน 2) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ หรือผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ 4 คน และ 3) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 8 คน และนำมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการค้นหาแก่นสาระ ทำการจัดลำดับความสำคัญและความหนาแน่นของข้อมูลแล้วเขียนอธิบายตามข้อค้นพบ ผลการศึกษา พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางยังต้องการความพร้อมสำหรับการจัดทำคำของบประมาณตรง โดยเฉพาะความเข้าใจในระเบียบ วิธีการตามกฎหมาย ทักษะในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำคำของบประมาณ นอกจากนี้ยังพบว่าเจ้าหน้าที่มีความกดดันจากการสื่อสารภายในองค์กร และมีข้อกังวลจากการชี้แจงงบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามขั้นตอนการของบประมาณโดยตรง อย่างไรก็ตามในด้านภาวะผู้นำ พบว่าผู้บริหารมีความกระตือรือร้น ให้ความสำคัญและยอมรับต่อกระบวนการงบประมาณแบบใหม่ เนื่องจากมีอิสระและการควบคุมจากส่วนกลางลดลง อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการงบประมาณซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ |