การศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความผ่าน กรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้าง อาคารที่ทำการศาลฎีกา
รหัสดีโอไอ
Creator นรภัทร เข็มทอง
Title การศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความผ่าน กรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้าง อาคารที่ทำการศาลฎีกา
Contributor ประโยชน์ ส่งกลิ่น
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2566
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 12
Journal No. 2
Page no. 231-255
Keyword นโยบายสาธารณะแนวการตีความ, ประดิษฐกรรมนโยบาย, สัญวิทยา, วาทกรรม, สถาปัตยกรรม, การเมือง
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความผ่านกรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา โดยมีขั้นตอนการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาข้อมูลขั้นทุติยภูมิ โดยการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาข้อมูลขั้นปฐมภูมิ โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสังเกตการณ์อาคารสถาปัตยกรรมและบริบทที่เกี่ยวข้อง 3) รวบรวมข้อมูลที่เก็บมาได้ โดยแบ่งแยกประเภท จัดระบบ และรูปแบบของข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ 4) ศึกษาวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล ค้นหาและตีความสัญลักษณ์ นัยยะ สรุปความหมายที่พบตามกรอบแนวคิดการวิจัยที่กำหนดไว้ และศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง   ข้อค้นพบกับแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมือง และ 5) สรุปผลการวิจัย ตอบคำถามการวิจัย และนำเสนอผลงาน ผลการศึกษา พบว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะแนวการตีความ กรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา พบว่า ความหมายโดยนัยของนโยบายแสดงให้เห็นถึงเจตนาแฝงที่มุ่งหวังถ่ายทอดวาทกรรมของรัฐซึ่งถูกอำพรางไว้ในประดิษฐกรรมนโยบาย เพื่อโน้มน้าวค่านิยมและความเชื่อต่าง ๆ ของผู้คนในสังคม สร้างฉากทัศน์ให้อำนาจตุลาการใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่าประชาชน ผลักดันให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นแหล่งที่มาของความชอบธรรมเชิงอำนาจของรัฐในระบอบประชาธิปไตย ประกอบสร้างและส่งผ่านมายาคติอัตลักษณ์ไทยและอุดมการณ์แบบราชาชาตินิยม ต้องการที่จะลบล้างความเป็นพหุวัฒนธรรมออกจากพื้นที่ สร้างดุลยภาพความสัมพันธ์เชิงอำนาจและทัศนคติร่วมที่รัฐต้องการ  อนึ่งจากการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาคารที่ทำการศาลฎีกาในฐานะประดิษฐกรรมนโยบายกับอุดมการณ์ทางการเมือง พบว่า อาคารที่ทำการศาลฎีกาเป็นสารทางอุดมการณ์ของรัฐ ทำหน้าที่ถ่ายทอดวาทกรรมและประกอบสร้างมายาคติเพื่อตรึงความหมายของวาทกรรมของรัฐ อาคารที่ทำการศาลฎีกาจึงมีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องและสนับสนุนแนวคิดสถาปัตยกรรมกับการถ่ายทอดอุดมการณ์ทางการเมือง บริบทของกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในช่วยส่งเสริมวาทกรรมแนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบราชาชาตินิยมผ่านระบบความหมายเชิงสัญลักษณ์ในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ส่งผลโน้มน้าวและผลักดันการสร้างทัศนคติร่วมในสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่รัฐต้องการ รัฐสามารถใช้สถาปัตยกรรมในการถ่ายทอดวาทกรรม ชุดความคิด รวมไปถึงอุดมการณ์ต่าง ๆ ไปสู่ประชาชนได้ง่าย ธรรมชาติของสถาปัตยกรรมมีลักษณะเป็นวัตถุ สามารถผลิตซ้ำ เน้นย้ำได้ง่ายส่งผลให้วาทกรรม ชุดความคิดหรืออุดมการณ์นั้น ๆ สามารถประกอบสร้างเป็นมายาคติครอบงำประชาชนได้ง่ายเช่นเดียวกัน
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ