การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยโครงงานผลิตหนังสั้น ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่อง “ฮอยฮีตคลองเก่าฮอยข้าวประดับดิน” ของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในพื้นที่บ้านขัวสูง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
รหัสดีโอไอ
Creator นิติยา ค้อไผ่
Title การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยโครงงานผลิตหนังสั้น ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่อง “ฮอยฮีตคลองเก่าฮอยข้าวประดับดิน” ของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในพื้นที่บ้านขัวสูง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
Contributor แจ่มจันทร์ ณ กาฬสินธุ์, ปัญญา เถาว์ชาลี, อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2566
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 12
Journal No. 2
Page no. 18-34
Keyword การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, สังคมศึกษา, การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิชาเอกสังคมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา จำนวน 29 คน และอาจารย์ประจำรายวิชา จำนวน 1 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์           กึ่งโครงสร้างเพื่อสอบถามประเด็นสถานการณ์ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์              2) ประเด็นคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มเพื่อถอดบทเรียนภายหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน  ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ด้านการเตรียมการสอน เนื่องจากในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทยมีเนื้อหาค่อนข้างมาก ทำให้การจัดการเรียนรู้ไม่หลากหลายและไม่ครอบคลุมกับแผนการเรียน 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นการบรรยาย เป็นการสรุปเนื้อหาจากตำราและนำเสนอเป็นสไลด์ถ่ายทอดให้กับนักศึกษา 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน                  ไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นสไลด์และเปิดวิดีทัศน์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแผนการเรียน และ 4) ด้านการประเมินผล เป็นการประเมินโดยอาจารย์เป็นหลัก วัดความจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์แบบบูรณาการ การใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานผ่านการผลิตหนังสั้นส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น “ฮอยฮีตคลองเก่าฮอยข้าวประดับดิน” พบว่า ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งในเชิงกายภาพและสังคม สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือทางสังคมในการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ข้อมูลสภาพพื้นที่ ปฏิทินกิจกรรมของชุมชน ประวัติชีวิตบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือ 7 ชิ้นในการศึกษาชุมชน เกิดทักษะในด้านการประสานงาน การสัมภาษณ์ และการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น ทำให้ผู้เรียนรู้จักการวางแผนการทำโครงงานอย่างเป็นระบบ และมีส่วนร่วม รวมถึงทักษะการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์  ในด้านผลที่เกิดขึ้นกับการจัดการเรียนรู้ ครูและผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็น            ผู้เอื้ออำนวย หรือพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำในทุกขั้นตอน รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเน้นให้ผู้เรียนได้          คิด วิเคราะห์ วิพากษ์ สามารถบูรณาการเชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ