ความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
รหัสดีโอไอ
Creator วิสุทธิณี ธานีรัตน์
Title ความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2565
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 11
Journal No. 1
Page no. 55-71
Keyword ความคาดหวัง, นักศึกษา, รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัย, โควิด-19
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน สำหรับประเด็นความคาดหวัง ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านอาจารย์ผู้สอน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านสถานที่และอุปกรณ์การศึกษา 5) ด้านบริการนักศึกษา 6) ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน 7) ด้านกิจกรรมนักศึกษา 8) ด้านการจัดการสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ผลการวิจัย พบว่า ความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 3.46, S.D.= .451) โดยความคาดหวังด้านอาจารย์ผู้สอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน ด้านสถานที่และอุปกรณ์การศึกษา ด้านบริการนักศึกษา ด้านกิจกรรมนักศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีภูมิลำเนา จำนวนพี่น้อง ลำดับที่ของการเป็นบุตร อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษาของบิดา และสถานภาพสมรสของบิดามารดาต่างกันมีคาดหวังต่อมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีเพศ และระดับการศึกษาของมารดาที่ต่างกัน มีคาดหวังต่อมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ